กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ปี2564
รหัสโครงการ 64-L4117-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 27,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮาฟีซ สอละซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อนำโดยแมลง นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เช่น โรคไข้เลือดออก และ โรคมาลาเรีย เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมและป้องกันโรค ด้านการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา สำหรับบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำได้โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เช่น ผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข ตลอดจนประชาชน และนอกจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายแล้ว ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการปฏิบัติงานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
จากการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส พบว่ามีผู้ป่วยป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรียระหว่าง ปี พ.ศ. 2561 –2563 21 ราย, 57 ราย, 48ราย ตามลำดับ และผู้ป่วยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ระหว่าง ปี พ.ศ. 2561 –25636 ราย, 5 ราย , 8ราย ตามลำดับ (ตาม รง.506)
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงขึ้นในปี 2564 เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคติดต่อนำโดยแมลง และเป็นการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อนำโดยแมลง พร้อมทั้งการค้นหาโรคโดยการคัดกรองในกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนตลอดจนถึงควบคุมป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง

 

0.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อนำโดยแมลง

 

0.00
3 เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลง

 

0.00
4 เพื่อเป็นการรณรงค์ในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมพ่นหมอกควันเพื่อป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงในชุมชน 0 8,000.00 8,000.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 การจัดซื้อเคมีภัณฑ์ ที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 9,000.00 9,000.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมพ่นสารเคมีตกค้างของหลังคาเรือนในพื้นที่ชุมชนพื้นที่ A1 ม.2และ ม.7 0 10,000.00 10,000.00
รวม 0 27,000.00 3 27,000.00
  1. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
  2. ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยข้อง
  3. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบกำหนดการดำเนินงาน
  4. ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชนหรือตัวแทนที่ทำหน้าที่เป็นแกนนำควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันวางมาตรการร่วมกันป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงในพื้นที่
  5. ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรค โดยการพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวแก่และคัดกรองค้นหาผู้ป่วยที่เป็นพาหะนำโรคติดต่อโดยแมลง รวมทั้งควบคุมโรคทางกายภาพด้วยการทำลายแหล่งเพาะธ์ุยุง มีการรณรงค์รวมไปถึงมีการคัดกรองมาลาเรียในกลุ่มเป้าหมาย เพื่อค้นหาโรคโดยเร็วที่สุด
  6. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้อย่างต่อเนื่องและทันเวลา
  2. อัตราป่วยด้วยโรคโรคติดต่อไข้มาลาเรีย ในตำบลบาละลดลง
  3. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อนำโดยแมลง และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคติดต่อไข้มาลาเรีย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2564 15:12 น.