กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ปีงบประมาณ2564
รหัสโครงการ 64-L4117-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 29,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซอบรี มณีหิยา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคติดต่อเป็นปัญหาหรือวิกฤติด้านสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด โดยเฉพาะโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก และโรคไข้มาลาเรีย เป็นต้น ซึ่งในแต่ละปีจะมีประชาชนป่วยเป็นจำนวนมาก เพราะการติดต่อและแพร่ระบาดของโรครวดเร็วขึ้น และมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชนในแง่การเจ็บไข้ได้ป่วย การพิการและการเสียชีวิตของประชาชน เนื่องจากความรุนแรงของโรค ซึ่งประชาชนมีโอกาสหรือความเสี่ยงที่จะเกิดโรคและภัยสุขภาพด้วยกันทุกคน โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรค ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ เป็นต้น การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นต่อของปัญหาการเกิดโรคได้ ซึ่งข้อมูลสถานการณ์โรคติดต่อโดยแมลงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละที่ผ่านมา ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๖3 – ธันวาคม ๒๕๖3 พบว่าประชาชนในพื้นที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มีจำนวน 32 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 570.00 ต่อแสนประชากร ( เป้าหมายต้องไม่เกิน ๔๐๐ ต่อแสนประชากร ) และป่วยด้วยโรคมาลาเรีย มีจำนวน 15 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 267.20 ต่อแสนประชากร จากข้อมูลสถานการณ์โรติดต่อโดยแมลงข้างต้นนั้น จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน สร้างผลกระทบต่อฐานะทางเศรษฐกิจการประกอบอาชีพของผู้ป่วยและครอบครัว รวมถึงส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายทางภาครัฐด้านการรักษาพยาบาลส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากมายต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศตามลำดับนั้น ดังนั้นการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพนี้ จึงต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องต่อไปเพื่อลดผลกระทบจากโรคที่เกิดขึ้นนี้ไม่ให้แพร่กระจาย และไม่ให้เป็นปัญหาในพื้นที่จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ในการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา พร้อมทั้งประสานการดำเนินงานให้สามารถควบคุมการระบาดให้สงบได้อย่างรวดเร็วอย่างทันท่วงที ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับทัพยากรในชุมชน และเทคโนโลยี เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคดังกล่าวที่เป็นปัญหาในพื้นที่ตลอดจนนำไปสู่การมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างถ้วนหน้าต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลง

 

0.00
2 เพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงในชุมชน

 

0.00
3 เพื่อให้บุคคล ครอบครัวและชุมชนมีความตื่นตัวในการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังของโรคติดต่อนำโดยแมลง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,650.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมพ่นหมอกควันในโรงเรียน วัด มัสยิด ปอเนาะในเขตรับผิดชอบ 0 17,200.00 -
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมปฏิบัติการพ่นหมอกควันบ้านผู้ป่วยไข้เลือดออกและบ้านใกล้เคียง 0 5,400.00 -
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมพ่นสารเคมีตกค้าง 25% ของหลังคาเรือนในพื้นที่ชุมชนที่มีการระบาด 0 7,050.00 -
  1. จัดทำโครงการเพื่อขอนุมัติ
  2. ประสานงานเกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนรูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจนในระดับชุมชน
  4. ดำเนินการรณรงค์ฯประชาสัมพันธ์สร้างกระแสเสริมความรู้เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อในชุมชนตามชุมชน
  5. ประเมินผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขเพื่อการปรับใช้ในการดำเนินงานในครั้งต่อไป
  6. สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมทั้งหมด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ชุมชนมีความตระหนักในการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้นสามารถควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อนำโดยแมลงได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2564 15:13 น.