กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม. ร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก ตำบลควนสตอ ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5284-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลควนโดน
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจักรกฤษณ์ พิชัยรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขอย่างมาก ในระยะ 60 ปี ที่ผ่านมานับตั้งแต่มีการระบาดของโรคครั้งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2501 อัตราอุบัติการณ์ของโรคมีแนวโน้มสูงขึ้นมาโดยตลอด นอกจากนี้ได้มีการแพร่กระจายของโรคไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการคมนาคมสะดวก ผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคในระยะที่ผ่านมายังไม่สามารถลดโรคได้ตามเป้าหมายที่กำหนด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้พยายามหาแนวทางแก้ไข้อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออก การใช้ทรายทีมีฟอสกำจัดลูกน้ำยุงลาย การใช้สารเคมีพ่นหมอกควันทำลายยุงตัวแก่ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวในระยะแรก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับต่างๆ จะเป็นผู้ดำเนินการ แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ลดลงได้ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคที่สำคัญที่สุด คือ ความตระหนัก และความร่วมมือกันของประชาชนทุกครัวเรือนในชุมชน ในการทำกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย ยังไม่จริงจังและขาดความต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคยังไม่ชัดเจน เนื่องจากโรคไข้เลือดออกซึ่งมีสาเหตุเกิดจากยุงลายกัด ทำให้คนในหมู่บ้านป่วย และเสียค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาล และอาจเสียชีวิตได้ ในขณะเดียวกันการระบาดของโรคก็เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว นับเป็นปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนเป็นอย่างมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการควบคุม ป้องกัน การเกิดและการระบาดของโรคไข้เลือดออก ให้มีความต่อเนื่องและมีความเป็นรูปธรรม โดยคนในครัวเรือน ชุมชน ได้มีส่วนร่วม ในการควบคุม และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง ในบ้านและบริเวณบ้านของตัวเอง อย่างจริง จังและต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่ความปลอดจากโรคไข้เลือดออก และการมีสุขภาพดีต่อไป ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการอสม.ร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออกปี 2564 ตำบลควนสตออำเภอควนโดน จังหวัดสตูลขึ้น เพื่อฟื้นฟูความรู้และวิชาการที่ทันสมัย และถ่ายทอดแนวทางการดำเนินงานเชิงรุกในชุมชนเพื่อให้แกนนำสามารถควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1เพื่อพัฒนาเพื่อพัฒนาศักยภาพทีม CDCUและ เครือข่าย ข้อที่ 2เพื่อส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ข้อที่ 3เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการควบคุมโรคไข้เลือดออก สามารถค้นหาปัญหาและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 80 ของทีม CDCUและเครือข่ายเข้าร่วมการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ ร้อยละ 80 ขอทีม CDCUและเครือข่ายมีการส่งรายงานการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80 ของทีม CDCUและเครือข่ายทราบการเกิดโรคและมีการแจ้งข่าวการเกิดโรคไข้เลือดออกและสถานการณ์ที่ผิดปกติในพื้นที่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 โครงการอสม.ร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก ปี 2564 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล 0 10,000.00 -

รงการเพื่อขออนุมัติ 2. จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ ฟื้นฟูความรู้และส่งเสริมการทำงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก - แจ้งกลุ่มเป้าหมายในการอบรม
- กำหนด สถานที่ วัน เดือน ปี
- ประสานทีมวิทยากร
- เชิญทีมวิทยากร และผู้เข้าร่วมอบรม - ดำเนินการอบรม 3. ประชุมติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม
4. สรุปและรายงานผลการดำเนินกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ทีมเฝ้าระวังสืบสวนเคลื่อนที่เร็ว มี่ความรู้ความเข้าใจ ในการดำเนินงานและสามารถ
ดำเนินงานควบคุมโรคเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว 2. ชุมชนและประชาชนมีการทำงานร่วมกันในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3. เกิดการสร้างเครือข่ายการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2564 15:19 น.