กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันการเกิดโรคระบาดในพื้นที่
รหัสโครงการ 60-L5187-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลสะพานไม้แก่น
วันที่อนุมัติ 6 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 ตุลาคม 2559 - 7 ตุลาคม 2559
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,460.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอสม.ตำบลสะพานไม้แก่น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,100.783place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลสะพานไม้แก่น ยังคงระบาดหนักในพื้นที่ ซึ่งจากที่ผ่านมามีการดำเนินการแก้ไขปัญหามาแล้วถึงสองครั้ง ทั้งการป้องกัน แก้ไข และการณรงค์แต่จำนวนผู้ป่วยในพื้นที่ยังสามารถลดลง และยิ่งทวีเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และเป็นโรคติดต่อประจำถิ่นที่แพร่ระบาดได้รวดเร็ว เนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีการระบาดตลอดปีและพบมาในฤดูฝน จากการสำรวจข้อมูลจากการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา พบว่าประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่ลดลง ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของจังหวัดสงขลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2559 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทั้งสิ้น 2,560 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 174.94 ต่อประชากรแสนคน โดยอำเภอจะนะพบผู้ป่วยสูงเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดสงขลา มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทั้งสิ้น 262 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 259.91 ต่อประชากรแสนคนและตำบลสะพานไม้แก่น พบผู้ป่วยสูงสุดของอำเภอจะนะ มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทั้งสิ้น 52 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 825.79 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจะต้องไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร จะต้องลดลง 20% ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี จากสถิติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าอัตราผู้ป่วยยังสูงกว่าเกณฑ์ชี้วัดมาก ดังนั้น การดำเนินงานที่สำคัญที่สุดในการควบคุมโรคไข้เลือดออก คือ การป้องกันโรคล่วงหน้าซึ่งต้องดำเนินการก่อนการเกิดโรค หากเกิดการระบาดแล้วการควบคุมโรคจะทำได้ลำบากแลสูญเสียงประมาณในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อให้ประชาชนในเขตตำบลสะพานไม้แก่น มีความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดการกับปัญหาก่อให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการระบาดและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของตำบลสะพานไม้แก่น

จำนวนประชากรรักษาความสะอาดกันมากขึ้น

2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคและวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้เรื่องการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพิ่มมากขึ้น

3 เพื่อสร้างความร่วมมือ และส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก

จำนวนภาคประชาชนและภาครัฐร่วมมือกันทำงานอย่างสามัคคี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน 1) ระดมความคิด อสม.และแกนนำชุมชนเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกที่สอดคล้องเหมาะสมกับชุมชน 2) เขียนโครงการนำเสนอ 3) ประชุม ชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น เจ้าหน้าที่ อสม. แกนนำชุมชน ฯลฯ 4) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น อบต. เทศบาล โรงเรียนและอื่นๆ

  2. การดำเนินงานตามโครงการ 1) อสม. ร่วมกับอบต. โรงพยาบาลจะนะ และผู้นำชุมชนดำเนินการสำรวจ,ทำลานแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 2) รณรงค์ด้านกายภาพโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยในหมู่บ้านและโรงเรียน 3) ทำความสะอาดชุมชน เก็บขยะบริเวณถนนสายหลักในตำบล สถานที่ราชการ และครัวเรือนของประชาชน 4) ติดตามและสรุปผลการดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการป่วยโรคไข้เลือดออกของตำบลสะพานไม้แก่นลดลง
  2. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคและวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2560 09:48 น.