กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจขจัดภัยไข้เลือดออกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก อ.สะเดา จ.สงขลา ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5248-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 138,290.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีติวัฒน์ หนูวิลัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะในประเทศไทยที่เป็นเขตร้อนชื้น จะพบยุงลาย (Aedes aegypti) อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นจำนวนมาก เดิมทีระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5 – 9 ปี แต่ในปัจจุบันสามารถ พบได้ทุกกลุ่มอายุ      จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของตำบลปริก ปี 2562 พบผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 86 ราย เป็นผู้ป่วยในเขตเทศบาลตำปริก จำนวน 37 คน คิดเป็นอัตราป่วย 375.833 ต่อแสนประชากร เป็นผู้ป่วยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก จำนวน 49 คน คิดเป็นอัตราป่วย 435.586 ต่อแสนประชากร และพบผู้ป่วยตำบลปริกส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน จำนวน 54 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562) ทั้งนี้จากผลการประเมินค่าความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชน พบว่าในเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 พบค่า CI อยู่ระหว่าง 11.61 – 16.04 ซึ่งยังเกินค่ามาตรฐานสูงมาก (ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายมาตรฐานต้องเป็นศูนย์ : CI = 0 ) จากการลงสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชนพบว่า หมู่ที่ 1 – 7 มีขยะรอบ ๆ บ้านเกือบทุกหลังคาเรือน ประชาชนยังขาดความตระหนัก และยังพบภาชนะที่มีลูกน้ำเยอะที่สุด ได้แก่ ภาชนะที่ไม่ใช้แล้ว ร้อยละ 28.01 จานรองกระถางต้นไม้ ร้อยละ 13.89 ยางรถยนต์เก่า ร้อยละ 17.65 ตามลำดับ ประกอบกับไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีลักษณะการระบาดปีเว้นปี หรือ 1 ปีเว้น 2 ปี จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลปริก ปี 2563 พบว่าอัตราการป่วยไม่ลดลง มีการกระจายตัวของโรคอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเด็กนักเรียน ทำให้ตำบลปริกเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง มีอัตราป่วยลอยตัวอย่างต่อเนื่อง     ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นให้มีการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างต่อเนื่องดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริก จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจขจัดภัยไข้เลือดออกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อเน้นให้ประชาชนให้ความสำคัญของการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก รวมทั้งสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำในบ้านเป็นประจำต่อเนื่องไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1       1. ประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมายผู้เกี่ยวข้อง       2. ประสานงานกับชุมชนเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการหมู่บ้านและแต่งตั้งเป็นคณะทำงานขับเคลื่อน
        โครงการร่วมกับ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ปริก       3. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านการประชุมระดับหมู่บ้าน       4. คณะทำงานดำเนินการในเขตรับผิดชอบ         4.1 ครั้งที่ 1 : ให้เจ้าของบ้านเก็บขยะรอบบ้านทุกชิ้นใส่ถุงดำ ถุงใหญ่ เพื่อนำมาแลกกับไข่ครึ่งแผง
          หากคณะทำงานเห็นว่ายังคงมีขยะหลงเหลืออยู่ก็จะไม่ได้รับไข่         4.2 ครั้งที่ 2 : ให้เจ้าของบ้านเก็บขยะรอบบ้านทุกชิ้นใส่ถุงดำ เหมือนเดิม นำมาแลกไข่ 1 แผง แต่มี           ข้อแม้ว่า หลังจากเก็บขยะรอบแรกแล้วจะต้องมีค่า CI = 0 และต้องไม่พบผู้ป่วยในบ้านหลังนี้
      5. ดำเนินการลงเก็บขยะและประเมินลูกน้ำยุงลายทุก 6 เดือน โดยให้ประชาชนนำขยะมาแลกไข่ไก่
        เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมในแต่ละครั้งรวบรวมขยะทั้งหมดให้ อบต.ปริก ดำเนินการจัดการต่อไป       6. สรุปผลการดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ 2       1. ตั้งงบดำเนินการในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออก       2. ดำเนินการตามแผนดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ได้ด้วยตัวเอง
  2. ร้อยละ 90 ประชาชนมีความตระหนักในการดูแลสิ่งแวดล้อมบ้านของตนเอง
  3. ทำให้อัตราป่วยไข้เลือดออกลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2564 09:37 น.