กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบสมุนไพรเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 64-L7931-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านนาวง
วันที่อนุมัติ 16 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 24,205.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นายวิชาญ มาสังข์ ผอ.รพ.สต.บ้านนาวง 2.นางสาวชิดชนก นกแก้ว แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.761017141,99.51451581place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของไทยในปัจจุบัน ส่งผลให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม กินอาหารไม่ถูกต้อง ไม่ออกกำลังกาย มีความเครียด ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด ที่มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี
    จากข้อมูลสาธารณสุขในเขตเทศบาลตำบลนาวง พบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 422 คน asthma จำนวน 19 คน COPD จำนวน 8 คน โรคเรื้อรังเหล่านี้เป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ก่อให้เกิดความไม่สบายตัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย นอนไม่หลับ ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมความดันได้     ในปัจจุบันได้มีการนำเอาการอบสมุนไพร ซึ่งเป็นวิธีการบำบัดรักษาและส่งเสริมสุขภาพ ตามหลักของการแพทย์แผนไทยศาสตร์หนึ่ง โดยใช้หลักการอบสมุนไพร คือ ต้มสมุนไพรหลาย ๆ ชนิดรวมกัน ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยและสมุนไพรรักษาตามอาการ สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวนำมาต้มจนเดือด ไอน้ำ น้ำมันหอมระเหย และสารระเหยต่าง ๆ สูดดมเข้าไปกับลมหายใจ มีผลต่อระบบทางเดินหายใจและผลทั่วร่างกาย ช่วยขับของเสียออกทางผิวหนังผ่านเหงื่อ ลดอาการหวัด ภูมิแพ้ ช่วยให้มดลูกของมารดา    หลังคลอดเข้าอู่เร็วขึ้น แก้ปวดเมื่อย แก้เหน็บชาต่างๆ รวมถึงช่วยให้รู้สึกสดชื่น ทำให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น และช่วยลดความดันโลหิตสูง เพราะเส้นโลหิตจะขยายออกทำให้โลหิตไหลเวียนสะดวก     ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาวงจึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำโครงการอบสมุนไพรเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และลดอาการข้างเคียงจากโรคเรื้อรัง มีอุปกรณ์ในการรักษาเหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย และเพียงพอต่อการบริการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่อง ประโยชน์ของการอบสมุนไพร และสมุนไพรที่ใช้ในการอบ

ร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่อง ประโยชน์ของการอบสมุนไพร และสมุนไพรที่ใช้ในการอบ

0.00
2 เพื่อช่วยลดความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถลดความดันโลหิตได้

0.00
3 เพื่อบรรเทาอาการภูมิแพ้อากาศและหอบหืด

ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้หรือหอบหืด สามารถลดอาการคัดจมูก ไอ จามได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอโครงการ เพื่อขออนุมัติ
  2. จัดซื้อและติดตั้งอุปกรณ์อบสมุนไพร
  3. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ     1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่อง ประโยชน์ของการอบสมุนไพร และสมุนไพรที่ใช้ในการอบ     2. กิจกรรมอบสมุนไพร
  4. ประเมินผลและสรุปรายงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  2. ลดอาการคัดจมูก จามในผู้ป่วยโรคหอบหืดหรือภูมิแพ้อากาศ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2564 15:06 น.