กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างพลังใจผู้สูงอายุในภาวการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 64-L1488-5-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.แหลมสอม
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,290.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม.รพ.สต.แหลมสอม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแหลมสอม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.287,99.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 488 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการระบาดในวงกว้างในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นมา โดยติดต่อผ่านทางการไอ จาม สัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของคนและสัตว์ที่อาจเป็นแหล่งโรค ซึ่งแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ในวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นลักษณะการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) โดยผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปี คือกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 และมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ แม้ว่าสุขภาพโดยรวมจะแข็งแรงสมบูรณ์ดีก็ตาม ยิ่งผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ยิ่งมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น แม้ในขณะนี้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีแนวโน้มที่จะควบคุมได้ดีขึ้น จากความร่วมมือของประชาชน บุคลากรสาธารณสุข และทุกภาคส่วน แต่ผลกระทบจากการระบาดและมาตรการในการควบคุมโรค มีผลทำให้คนในสังคมเกิดความกดดัน ความเครียด และความวิตกกังวล จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงต้องมีการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตอย่างเร่งด่วนโดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มเปราะบางกลุ่ม หนึ่งที่ต้องได้รับการดูแลเพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่คลื่นลูกที่ 4 (4th wave : Psychic trauma, Mental illness, Economic injury, Burnout ) โดยมุ่งเน้นให้ประชาชน ครอบครัว และชุมชน ปลอดภัยจากผลกระทบด้านสุขภาพจิตในสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นี้ และมีพลังใจเต็มเปี่ยม สามารถปรับตัวเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) จึงขอเสนอโครงการเสริมสร้างพลังใจผู้สูงอายุในภาวะการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลแหลมสอม
      ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการที่ขอรับสนับสนุนจะต้องปฏิบัติตามมาตรการของส่วนราชการกำหนด ซึ่งปัจจุบันได้มีการผ่อนคลายมาตรการเพื่อให้ประชาชนและทุกภาคส่วนสามารถดำเนินกิจกรรมและใช้ชีวิต ได้ตามรูปแบบ New Normal ได้อย่างเหมาะสม การดำเนินงานและจัดกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นจึงมีการปฏิบัติเพื่อให้ สอดรับกับมาตรการดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

1.ผู้สูงอายุสามารถจัดการความเครียด และลดความวิตกกังวลจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2.ผู้สูงอายุสามารถรับมือกับวิกฤตต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อันอาจจะนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุได้ 3.ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตได้รับการส่งต่อ และรับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง

90.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1952 25,290.00 0 0.00
1 ก.พ. 64 - 30 พ.ค. 64 จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค 488 500.00 -
1 ก.พ. 64 - 30 พ.ค. 64 จัดกิจกรรมเสริมสร้างพลังใจ 488 11,990.00 -
1 ก.พ. 64 - 30 พ.ค. 64 กิจกรรมสรุปผลและการติดตามและประเมินผลด้วยการประเมินด้วยแบบความเครียด (ST-5)และแบบคัดกรองความกังวลต่อไวรัส COVID-19 และการประเมินผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ 488 12,200.00 -
1 ก.พ. 64 - 30 พ.ค. 64 จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พร้อมจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ 488 600.00 -
  1. จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
  2. ประชาสัมพันธ์และประสานการดำเนินงานตามโครงการให้กับผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่
  3. จัดกิจกรรมเสริมสร้างพลังใจ โดยนำแนวทางตามคู่มือการปฏิบัติงานทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจทุกระดับ : ผู้ประสบภาวะวิกฤตในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาประกอบการดำเนินกิจกรรม โดยมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมดังนี้
      1) ลงพื้นที่ให้ข้อมูลที่ชัดเจนเรียบง่ายเกี่ยวกับสถานการณ์ เนื่องจากผู้สูงอายุมีข้อจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งข้อมูลการดำเนินโรคติดเชื้อไวรัสโควิด การรักษา วิธีป้องกันการติดเชื้อที่ได้ผล และวิธีการปฏิบัติตัวที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ ในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในผู้สูงอายุ ชี้แจงข้อมูลซ้ำได้ ถ้าผู้สูงอายุยังไม่เข้าใจ การสื่อสารกับผู้สูงอายุต้องมีความชัดเจน สั้นกะทัดรัด ภาษาง่าย ๆ สุภาพและใจเย็น หรือจะสื่อสารกับผู้สูงอายุผ่านทางการเขียนด้วยลายมือ ตัวหนังสือใหญ่ หรือรูปภาพก็ได้ เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและเครือข่ายสนับสนุนอื่น ๆ ในการให้ข้อมูลและช่วยเหลือผู้สูงอายุในการฝึกมาตรการป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสโคโรนา เช่น การล้างมือ เป็นต้น
      2) ลงพื้นที่โดยสนับสนุนให้มีอาสาสมัครในชุมชนที่มาจากผู้สูงอายุที่มีความสามารถ มีประสบการณ์และสุขภาพแข็งแรง เพื่อรับมือการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ตัวอย่างเช่น ประชากรสูงอายุที่เกษียณหรือมีสุขภาพดีสามารถช่วยเหลือให้กำลังใจ เฝ้าระวังในชุมชนละแวกบ้าน และช่วยดูแลบุตรหลานของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องประจำหน้างานบำบัดรักษาในโรงพยาบาล เป็นต้น)
      3) ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือจิตใจผู้สูงอายุผ่านเครือข่ายไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว เพื่อให้ข้อมูลข้อเท็จจริงง่าย ๆ ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นและให้ข้อมูลชัดเจนว่าจะลดความเสี่ยง การติดเชื้อได้อย่างไรที่ผู้สูงอายุด้วยภาพทั้งที่มีหรือไม่มีการบกพร่องทางสมองสามารถเข้าใจได้ง่าย ต้องให้ ข้อมูลซ้ำ และตามความจำเป็น
      4) ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุให้กับคนในครอบครัว รวมถึงวิธีปฏิบัติตน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้สูงอายุ
    1. สรุปผลและการติดตามและประเมินผลด้วยการประเมินด้วยแบบความเครียด (ST-5) และแบบคัดกรองความกังวลต่อไวรัส COVID-19 และการประเมินผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยใช้แบบสอบถามความ พึงพอใจกรมสุขภาพจิต ที่มีผลความพึงพอใจ ระดับมาก - มากที่สุดไม่น้อยกว่า ร้อยละ 85
    2. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พร้อมจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับการเสริมสร้างพลังใจเพื่อรองรับสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
      2. ผู้สูงอายุสามารถจัดการความเครียด และความวิตกกังวลจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2564 17:12 น.