กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุภาพกลุ่มเสี่ยง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ชุมชนละหาร
รหัสโครงการ 64-L2522-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชุมชนละหาร.
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชุมชนละหาร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2564 30 ก.ย. 2564 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง นั้นเป็น กลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค หรือติดต่อผ่านตัวนำโรค ( พาหะ) หากแต่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากวิธีการใช้ชีวิต ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ขาดการ ออกกำลังกาย อาหารหวานมันเค็มจัด ในปัจจุบันอัตราการป่วยของโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ถือเป็น ปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สังเกตจาก สถิติผู้เสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด มีถึง ๖๓% ที่เกิดจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง สำหรับประเทศไทยเอง สถิติล่าสุดพบว่ามีถึง 14 ล้านคนที่เป็นโรค ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังยังถือเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตของ ประชากรทั้งประเทศ มีแนวโน้มจะสูงขึ้น เรื่อยๆ ในอนาคต แต่แท้จริงแล้ว กลุ่มโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง นั้นสามารถ ป้องกันได้ เพราะ สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงหลักนั้น เกิดจากการสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับ สุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มี สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อ การมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ ชุมชนละหาร เทศบาลตำบลแว้ง พบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรค ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๑๖๐คน ชุมชนละหาร เทศบาลตำบลแว้ง ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

จำนวนประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓อ. ๒ส. จำนวน ๑๒๐  คน

0.00
2 ข้อที่ ๒. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ใน การดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง มากว่า ร้อยละ ๘๐

0.00
3 อที่ ๓. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลง
  • อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงลดลง ร้อยละ ๓
  • อัตราผู้ป่วยรายใหม่โรคเบาหวานลดลง ร้อยละ ๓
0.00
4 อที่ ๔. เพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและ กันของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน

ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้เข้าร่วมโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  จำนวน ๑๒๐  คน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
22 - 26 ก.พ. 64 ให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง 0 17,000.00 -
22 - 26 มี.ค. 64 รณรงค์ให้ความรู้ประชาชนและปรับเปลี่ยนสุขภาพกลุ่มเสี่ยง 0 3,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและทั่วถึง
๒. ประชาชนมีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ๓. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน สามารถนำความรู้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง
๔. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายไม่เจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ ที่ต้องรับการรักษาต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2564 00:00 น.