กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 2564-L3310-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 12,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ เผือกสม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศ ไทย ซึ่งท้าให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรีดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านมในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่น ๆ และลุกลามจนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ส่วนมะเร็งปากมดลูกที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smearถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกจะง่าย สะดวก และราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ดังนั้นการให้ความรู้และกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในเรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และการมารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก เมื่อตรวจพบความผิดปกติแล้วเข้ารับการตรวจซ้ำโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง และทันท่วงทีนั้นจะช่วยลดอัตราอัตราการเกิดโรค และอัตราตายของโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ ในเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา มีกลุ่มเป้าหมายสตรี 30-60 ปี จำนวน 470 คน ได้รับสถานการณ์โรคของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาย้อนหลัง 3 ปีพบว่า ปี2561 มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 2 ราย มะเร็งปากมดลูกรายใหม่ 3 ราย ปี2562มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 3 ราย มะเร็งปากมดลูกรายใหม่ 1 ราย ปี2563ไม่มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่มะเร็งปากมดลูกรายใหม่ 1 ราย ในรายที่ไม่พบความผิดปกติอาจเกิดจากการตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจพร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมาย อาจจะยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมจึงไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรอง
ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เพื่อให้สตรีในกลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักถึงความสำคัญการป้องกันการเกิดโรค ลดอัตราป่วยและอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกิจกรรมให้ความรู้

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละ 40 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองที่บ้านได้

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งเต้านม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,500.00 0 0.00
??/??/???? 1. ประชุมให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สาธิตการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง 2. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) และมะเร็งเต้านม 3. แจ้งผลการตรวจ และส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ 0 12,500.00 -
  1. ประชุมให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สาธิตการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง     2. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) และมะเร็งเต้านม     3. แจ้งผลการตรวจ และส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกิจกรรมให้ความรู้ 2.ร้อยละ 40 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก 3.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งเต้านม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 11:09 น.