กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ไข้ชิกุนคุนยาในชุมชน ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5171-1-
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บางเหรียง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 48,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิเชียร นาศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เชื้อที่เป็นสาเหตุคือเชื้อไวรัสเดงกี่ ไวรัสในจีนัส โรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และมักระบาดในช่วงฤดูฝนเพราะมียุงเพิ่มมากขึ้น ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาไข้เลือดออกมีการระบาดเพิ่มมากขึ้น และกลายเป็นโรคประจำท้องถิ่นของประเทส มากกว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีความรุนแรงมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจัยสำคัญที่ทำในการระบาดและมีการขยายพื้นที่เกิดโรคออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนจำนวนประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของภาชนะขังน้ำที่คนทำขึ้นการคมนาคมที่สะดวกทั้งทางถนนและอากาศทำให้มีการเดินทางเพิ่มขึ้นทั้งภายในและระหว่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่ ไวรัสในจีนัส เป็นไปอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรและงบประมาณค่าใช้จ่ายของประเทศในแต่ละปีจำนวนมาก ทั้งที่โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้หากทุกคนร่วมกันดูแลและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือนของตนเองและป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัด แม้ปัจจุบันหลายฝ่ายจะร่วมมือกันในการรณรงค์และให้ความรู้เรื่องการป้องงกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก ไข้ชิกุนคุนยา แต่ปัญหายังมิได้หมดไป ยังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทุกปี สถานการณ์ไข้เลือดออกในปี พ.ศ.25563 (ข้อมูลจาก สำนักงานป้องกันควบคุมโรค 12 สงขลา) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก (DF,DHF,DSS) สะสมรวม 1,534 ราย อัตรป่วย 33.5 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 1 ราย อัตราตาย 0.02 ต่อประชากรแสนคน จังหวัดสงขลา ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกรวมกัน 1,198 ราย อัตราป่วย 84.39 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย อัตราตาย 0.08 ต่อประชากรแสนคน แยกตามช่วงอายุ 0-4 ปี อัตราป่วย 6.73 ต่อแสนระชากร 5-9 ปี (17.75 ต่อแสนประชากร) 10-14 ปี ) (17.75 ต่อแสนประชากร) 10-15 ปี (20.36 ต่อแสนประชากร) 15-19 ปี (15.23 ต่อแสนประชากร ) 20-24 ปี (11.69 ต่อแสนประชากร) อายุ 25-29 ปี (8.67 ต่อแสนประชากร) อายุ 30-34 ปี (4.38 ต่อแสนประชากร) อายุ 35-39 ปี (4.97 ต่อแสนประชากร) อายุ 40-44 ปี (2.27 ต่อแสนประชากร) อายุ 45-49 ปี (3.03 ต่อแสนประชากร) อายุ 50-54 ปี (1.85 ต่อแสนประชากร) อายุ 55-59 ปี (1.35 ต่อแสนประชากร อายุ ) >60 ปี (1.72 ต่อแสนประชากร) สำหรับพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง ประกอบด้วยหมู่ที่ 2,3,4,5,6 และ 7 ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา มีรายงานผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา จำนวน 5 ราย อัตราป่วย 0.13 ต่อแสนประชากรไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต และมีผู้ป่วยสงสัยรวมถึงผู้ป่วยที่มาพักอาศัยระหว่างป่วยด้วย โรคไข้เลือดออก ชิกุนคุนยา จำนวน 8 ราย อัตราป่วย 0.22 ต่อแสนประชากร ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค จึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักให้กับทุกภาคทุกส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันในการป้องกันและควบคุมโรคโดยอาศัยการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้เล็งเห็นถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก ไข้ชิกุนคุนยา เพื่อนำไปสู่ความรับผิดชอบและร่วมกันแก้ไข้ปัญหา และหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออก ไข้ชิกุนคุนยา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ไข้ชิกุนคุนยาในชุมชน ปี 2564 ขึ้นไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออก ไข้ชิกุนคุนยา

รัวเรือนได้รับข่าวสารความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 50

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออก ไข้ชิกุนคุนยาในพื้นที่

1.อัตราป่วยโรคไข่เลือดออก ลดลงจากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2559-2563) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 2.โรงเรียนที่มีค่า CI=0 ร้อยละ 100 3.สถานศึกษาและศาสนสถานในพื้นที่ ได้รับการพ่นหมอกควันหรือละอองฝอย 2 ครั้ง/ปี ร้อยละ 100 4.บ้านที่มีผู้ป่วยโรคไข่เลือดออกและครัวเรือนรัศมี 100 เมตร ได้รับการพ่นควันหรือละอองฝอย 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการเพื่อขอเพื่อขออนุมัติ 2.ประชุมชี้แจงโรคการแก่ จนท./อสม. 3.ดำเนินการตามโครงการ 3.2 แจ้งข่าวสถานการณ์โรคไข้เลือดออก และให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกแก่ประชาชน/นักเรียน 3.3 เผยแพร่ข่าวสารความรู้ในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น เสียงตามสายของหมู่บ้าน เอกสาร แผ่นพับ 3.4 จัดกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน สถานศึกษาและศาสนสถาน โดยบุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านประชาชนและนักเรียน 3.5 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกยุงลายโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 3.6 สุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI/CI) โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับ อสม. เดือนละครั้ง 3.7 พ่นหมอกควัน/ละอองฝอย ในสถานศึกษา และ ศาสนสถาน ก่อนเปิดเรียนภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง 3.8 พ่นหมอกควัน/ละอองฝอย กรณีพบผู้ป่วยในพื้นที่ โดยทำการพ่นบ้านผู้ป่วยไข้เลือดออกและระแวกบ้านผู้ป่วยใน รัศมี 100 เมตร จำนวน 2 ครั้ง ห่าง 1 สัปดาห์ และผู้ป่วยชิกุนคุนยา 4 ครั้ง ห่างหัน 1,3,7,21 วัน 3.9 จัดเตรียมเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมโรคให้พร้อมใช้งานตอดเวลา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก โรคชิกุนคุนยา 2.เครือข่ายทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล มีความรู้ความสามารถแจ้งเหตุการณ์ความผิดปกติในพื้นที่ได้ทันเวลา 3.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก โรคไข้ชิกุนคุนยาในพื้นที่ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 11:15 น.