กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กอ้วนน่ารักหรือน่าห่วง ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5171-1-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บางเหรียง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 1,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิเชียร นาศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการดำเนินชีวิตของคนไทย ต้องเร่งรีบในการทำกิจวัตรประจำวันทั้งเด็กนักเรียน และผู้ใหญ่ในวัยทำงาน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผกระทบต่อแผนการบริโภคอาหารของครอบครัวและเด็กวัยเรียนเป็นอย่างมาก การบริโภคอาหารที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อสะดวกต่อการดำรงชีพ ทำให้เกิดค่านิยมในเรื่องการบริโภคอาหารประเภทจานด่วน จานเดียว อาหารสำเร็จรูป และอาหารกึ่งสำเร็จรูปจึงเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับเด็กนักเรียน ซึ่งอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการติดเกมส์ ทำให้เด็กนักเรียนมีการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายน้อยลง ซึ่งรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบนั้น สามารถนำไปสู่โรคอ้วน และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ใหญ่วัยทำงานเท่านั้น แต่ยังพบว่าเป็นปัญหาในเด็กนักเรียนอีกด้วย สำหรับประเทศไทยจากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาโรคอ้วนในนักเรียน พบว่าเด็กไทยทุกๆ 5 คน จะพบอย่างน้อย 1 คน ที่เป็นโรคอ้วน ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น่าตกใจอย่างมาก และแนวโน้มภาวะอ้วนในเด็กนักเรียนสู้ขึ้นมากจนน่าเป็นห่วง เด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการอ้วนมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้มากกว่าปกติ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคไข้มันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ข้ออักเสบ ขาโก่ง รวมทั้งสมาธิสั้น ซึ่งอาจมาผลกระทบต่อการเรียนของเด็กนักเรียนได้อีกด้วย จากข้อมูลในระบบ Health Data Center (HDC) สถานการณ์ภาวะโภชนาการเด็กเรียนโรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริงสุขภาพตำบลบางเหรียง พบว่าเด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วน ในปี 2562 ร้อยละ 14.64 และปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 16.78 ซึ่งอัตราของภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกินเป้าหมายขอกระทรวงสาธารณะสุขที่กำหนดตัวชี้วัดเด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ 10 ดังนั้นโงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนในเด็กนักเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม จึงได้จัดทำโครงการเด็กอ้วนน่ารักหรือน่าห่วง ปี 2564 นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น

ร้อยละ 80 ของเด็กนักเรียนที่มีโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น

0.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภพ

0.00
3 เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วนมีน้ำหนักตัวลดลง

ร้อยละ  30 ของเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วนที่เข้าร่วมโครงการมีน้ำหนักตัวลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.สำรวจภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียน 2.จัดทำแผนงานโครงการและขออนุมัติ 3.ประสานผู้เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมเพื่อรับทราบและร่วมกันวางแผนในการดำเนินงาน 4.จัดทำรายชื่อเด็กเรียน อายุ 6-12 ปี ที่มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วน 5.จัดทำคู่มือประกอบการเรียนรู้และคู่มือติดตามพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กนักเรียน 6.ดำเนินการตามโครงการ 6.1 จัดกิจกรรม “เด็กอ้วนน่ารักหรือน่าห่วง” โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วน 6.2 จัดกิจกรรมการออกกำลังกายในช่วงเช้าให้กับเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วน วันละ 30 นาที และมีการบันทึกการทำกิจกรรมทุกวัน และให้มีการชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูงทุกวันศุกร์ เพื่อตรวจสอบว่าเด็กนักเรียนคนใดที่มีน้ำหนักลดลงหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและจะมีการประเมินผลเป็นรายสัปดาห์ เพื่อได้ให้คำแนะนำเป็นรายบุคคล 7.ติดตาม ประเมินผลพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กนักเรียน 8.สรุปโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วน มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น 2.เด็กเรียนที่มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ 3.เด็กเรียนที่มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วนมีน้ำหนักลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 11:20 น.