กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5171-1-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บางเหรียง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 4,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิเชียร นาศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กับกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง มีร้านขายของชำจำนวนมาก เป็นร้านที่มีผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้า เนื่องจากมีความสะดวกในการซื้อสินค้า เป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิดเช่น ยา เครื่องสำอาง เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ จากการสำรวจพบว่า เครื่องอุปโภคบริโภคไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวในข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ปี 2564 นี้ขึ้น เพื่อการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ได้มาตรฐาน โดยมุ่งหวังที่จะให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำและอสม.แกนนำ ได้มีความสำคัญของการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์ และอาหารที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำ

ร้อยละ 100 ของร้านขายของชำได้รับการตรวจสอบ/ติดตาม และเฝ้าระวัง

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำและอสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพมากขึ้น

ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการร้านขายของชำและอสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพมากขึ้น

0.00
3 เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กลุ่ม อย.น้อย ในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัย

ร้อยละ 80 ของกลุ่ม อย.น้อย ในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.สำรวจผุ้ประกอบการร้านขายของชำ/จัดทำทะเบียนร้านขายของชำในพื้นที่ 2.จัดทำแผนงานโครงการและขออนุมัติ 3.ประสานผู้เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมเพื่อรบทราบและร่วมกันวางแผนในการดำเนินงาน 4.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารให้แก่กลุ่มเป้าหมาย 5.จัดทำเอกสารคู่มือประกอบการอบรม 6.ดำเนินการตามโครงการ   6.1จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านขายของชำและอสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน 50 คน ในการเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน   6.2จัดอบรมให้ความรู้แก่ อย.น้อย โรงเรียนบ้านบางเหรียงและโรงเรียนวัดบางทีง จำนวน 20 คน เพื่อสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัย   6.3จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ อสม. แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 20 คน และออกตรวจเฝ้าระวังร้านขายของชำในหมู่บ้าน 7.ติดตามและประเมินผล 8.สรุปโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตรายในร้อนขายของชำ 2.ผู้กอบการร้านขายของชำ สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค 3.ร้านขายของชำในชุมชนได้รับการเฝ้าระวัง/ตรวจสอบคุณภาพของร้านอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง 4.อย.น้อย ในโรงเรียน มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนของนักเรียน ครอบครัว และชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 11:24 น.