กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรคห่างไกลภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5171-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บางเหรียง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 13,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิเชียร นาศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช (Pesticides) เข้ามีบทบาทและใช้ในการเกษตรอย่างกว้างขวาง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่สะท้อนให้เห็นสถานการณ์อย่างชัดเจน คือข้อมูลปริมาณการนำเข้าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี โดยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีการใช้มากที่สุด ได้แก่ สารกำจัดศัตรูพืช สารกำจัดแมลง สารกำจักโรคพืช เป็นต้น แนวโน้มการนำสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชมาใช้ยังคงมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าสารเคมีดังกล่าวจะมีหลักฐานและข้อมูลทางวิชาการแสดงถึงความเป็นพิษต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจนและทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีโดยตรง หรือกลุ่มผู้บริโภคพืชผักที่มีสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในพืชผัก ซึ่งส่วนใหญ่มีผลต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังการแก้ไข้ปัญหาและควบคุมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อคุ้มครองสุขภาพทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคเป็นบทบาทที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการลดปริมาณการใช้ และการเฝ้าระวังการได้รับสารพิษจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นสิ่งสำคัญที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นประโยชน์ในการให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเปรียง มีการดำเนินงานดูแลสุขภาพเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรมีความตระหนักถึงโอกาสเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการป้องกันตนเอง จากการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเกษตรกรโดยการเจาะเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส จำนวน  217 คน ผลเลือดปติ จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 7.38 ปลอดภัย จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 33.18 มีความเสี่ยง จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 29.96 และไม่ปลอดภัย จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 29.5 จากกลุ่มเป้าหมายในการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือด มีความเสี่ยงจำนวน 65 คน และไม่ปลอดภัย จำนวน 64 คน จึงได้นำกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่ประสงค์จะเข้ารับบริการขจัดสารเคมีในเลือด จำนวน 89 คน เข้ารับการขับสารพิษโดยรางจืด ติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อทำการเจาะเลือดซ้ำในครั้งที่ 2 ผลปรากฏว่า การขับสารพิษด้วยรางจืด สามารถลดสารเคมีในกระแสเลือดให้อย฿ในระดับที่ลดลงได้ ร้อยละ 58.43 จึงควรมีการเฝ้าระวัง ดำเนินการให้เกษตรกและผู้บริโภคได้ดูแลสุขภาพตนเองร่วมกับบุคลากรสาธารณสุขต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรคห่างไกล ภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2564 นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริจาคมีความรู้และตระหักถึงอันตรายในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ร้อยละ 80 ของเกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้และตระหนักถึงอันตรายในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

0.00
2 2. เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพและประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร

ร้องละ 80 ของเกษตรกรและผู้บริโภคได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ ประเมินความเสี่ยงและตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส

0.00
3 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่ปลอดภัยได้รับการขับสารพิษโดยรางจืด

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่ปลอดภัยได้รับการขับสารพิษโดยรางจืด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงเพื่อประเมินความเสี่ยงในการทำงานชองการเกษตร ตามแบบ นบก. 1-ถุ 2.จัดทำแผนงานโครงการและขออนุมัติ 3.ประสานผู้เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมเพื่อรับทราบและร่วมกันวางแผนในการดำเนินงาน 4.รวบรวมรายชื่อเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย 5.จัดทำแผ่นพับความรู้ 6.ดำเนินการตามโครงการ 6.1 ประชาสัมพันธ์ข่าวสารแก่ผู้สนใจ เช่น กลุ่มผู้บริโภคผัก ผลไม้ หรือกลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกที่มีการฉีดพ่นนสารกำจัดศัตรูพืชเป็นประจำ และมอบป้ายไวนิล รณรงค์ลดละเลิกใช้สารเคมี แก่พื้นที่รับผิดชอบทั้ง 6 หมู่บ้าน 6.2 จัดทำหนังสือเชิญเกษตรกลุ่มเป้าหมาย 6.3 ให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรและผู้บริโภคที่สนใจ เกี่ยวกับเรื่องการป้องกันอันตราย   จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 6.4 ประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกร ตามแบบ นบก. 1-56 6.5 ตรวจเลือดเพื่อหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส 6.6 สรุปผลการตรวจเลือดเกษตรกรและผู้บริโภค 6.7 จัดทำหนังสือแจ้งผลการตรวจเลือด พร้อมวิธีการดูแลสุขภาพและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย โดยจัดส่งผ่าน อสม.ในพื้นที่ 6.8 รณรงค์ให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่ปลอดภัยเข้ารับบริการขจัดสารเคมีในเลือดโดยรางจืดติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน 7. ติดตามกลุ่มผู้มีความเสี่ยงและกลุ่มเข้ารับการตรวจซ้ำ และส่งต่อเพื่อการรักษาในกรณีที่มีอาการรุนแรง 8. สรุปโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันตนเองจากอันตรายของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  2. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่ปลอดภัยสามารถลดสารเคมีในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับที่ลดลงได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 11:27 น.