กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และแกนนำชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5171-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บางเหรียง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 18,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิเชียร นาศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ คือ ปัญหาโรคผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ และโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และในการศึกษาสถานการณ์และธรรมชาติวิทยาของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากร พบว่าภาพรวมของประเทศ พบประชากรไทยมีแนวโน้มการตายและป่วยจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ใน 13 ปีขึ้นไป มากกว่าหนึ่งล้านเก้าแสนคน นอกจากนั้นยังพบว่าเมื่ออายุสูงขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานขึ้นได้ง่าย เมื่อเป็นโรคเบาหวานระยะเวลาหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต หัวใจ ระบบประสาท แผลเรื้อรัง เป็นต้น         จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิธีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นพฤติกรรม การบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลตนเอง อันนำไปสู่ ระบบการทำงานต่าง ๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจัดเป็นโรคเรื้อรังที่กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก ทั้งนี้ พบว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่รวดเร็ว ประกอบกับภาวะโรคที่เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือการตาย ส่งผลกระทบทำให้เกิดความสูญเสียในด้านคุณภาพชีวิต สังคมและเศรษฐกิจ จากข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อในเรื้อรังในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียงปี 2563 จากคลังข้อมูลสุขภาพ Health Center (HDC) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 177 รายผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลมี 68 ราย คิดเป็นร้อยละ 38.42 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน
489 ราย คิดเป็นร้อยละ36.20 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อันจะส่งผลต่อเนื่องให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และโรคไตได้       โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเหรียง จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน (อสม) และแกนนำชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรังปี 2564 ขึ้นเพื่อให้อาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) และ แกนนำชุมชน ซึ่งเป็นบุคคลในชุมชนสามารถดูแลสุขภาพคนในครอบครัวตนเองได้ และสามารถดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อที่รังอาศัยอยู่ร่วมกันกันในชุมชน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาทักษะของ อสม. และแกนนำชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อเรื้อรัง

ร้อยละ 90 ของอสม.และแกนนำชุมชน มีทักษะในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

0.00
2 เพื่อฝึกปฏิบัติในการเยี่ยมบ้าน และการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับ อสม.และแกนนำชุมชน

ร้อยละ 90 ของ อสม. และแกนนำชุมชนสามารถดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารสุขได้อย่างต่อเนื่อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคจิตไม่ติดต่อเรื้อรังในเขตรับผิดชอบ 2.คัดเลือกแกนนำชุมชน ซึ่งได้แก่ ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือผู้ดูแลผู้ป่วย ที่เข้าเกณฑ์ต้องได้รับการดูแลคือ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตหรือน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 75 คน
3.เตรียม เอกสาร จัดทำคู่มือในการดูแลผู้ป่วยไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน 4.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ แกนนำชุมชนในการดูแล ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  จำนวน 6 รุ่นๆละ 1 วัน
5.เจ้าหน้าที่ อสม. และแกนนำชุมชนติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคติดต่อเรื้อรังในชุมชม 6.สรุปและรายงานผลการดำเนินการโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่าวยดรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ ผ่านเกินเกณฑ์ที่กำหนด มากกว่าร้อยละ 50 2.ผู้ป่วยโรคความดันสูงที่ควบคุมความดันโรคหิตได้ดี ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดมากกว่าร้อยละ 40 3.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และโรคไต

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 11:51 น.