กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกาะใหญ่ร่วมใจ ห่างไกลโรคติดต่อ ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5171-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.เกาะใหญ่
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 109,260.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดรุณี เพชรพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อ คือโรคที่เกิดจากเชื้อดรคหรือพิษของเชื้อโรคซึ่งสามารถแพร่โดยทางตรงหรือทางอ้อมมาสู่คน สำหรับประเทศไทยเป็นเขตร้อนชื้น จึงทำให้เชื้อโรคและแมลงที่เป็นพาหะนำโรคเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ง่ายมากกว่าประเทศที่มีอากาศหนาว โดยเฉพาะโรคที่นำโดยแมลงพบว่าโรคติดต่อนำโดยแมลงที่สำคัญในประเทศไทยมีหลายโรค ส่วนใหญ่นำโดยยุง เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุลลาย โรคมาลาเรีย โรคเท้าช้าง ซึ่งระบาดในไทยมาเป็นเวลาหลายสิบปี และก่อให้เกิดปัญหารุนแรงหนักบ้าง เบาบ้าง ตามแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย ปัจจุบันโรคติดต่อนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศ และในปีพ.ศ. 2563 ได้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้ง เป็นโรคติดต่ออันตราย ซึ่งสถานการณ์ในประเทศไทยพบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในประเทศมียอดสะสมทั้งสิ้น 3,920 ราย และเสียชีวิต 60 ราย ข้อมูลเมื่อวันที่ 24 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ. 2563 ทั้งนี้การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคจำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งนี้การเฝ้าระวังโรคติดต่อประจำท้องถิ่น และโรคอุบัติซ้ำ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก เป็นต้น การแพร่ระบาดของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวางก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อปัญหาสาธารณสุข จากสถานการ์เกิดโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาด 5 อันดับแรกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่ ข้อมูลจากโปรแกรม R 506 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง 59 ราย คิดเป็นอัตราการป่วย 967.21 ต่อแสนประชากร โรคปอดบวม 14 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 229.50 ต่อแสนประชากร โรคไข้หวัดใหญ่ 14 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 229.50 ต่อแสนประชากร โรคมือเท้าปากเปื่อย 10 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 163.93 ต่อแสนประชากร และโรคไข้เลือดอก 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 29.18 ต่อแสนประชากร นอกจากนี้ยังมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่สงสัยเป็นผู้ป่วยที่รับเชื้อนอกพื้นที่แล้วมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ขณะป่วยอีก 3 ราย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรค เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น โดยทุกภาคส่วนต้องร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคโดยอาศัยยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักและเห็นถึงสภาพปัญหาของโรคนำไปสู่การเกิดความรับผิดชอบและร่วมกันแก้ไขปัญหา การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคจึงต้องปรับเปลี่ยนให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและเป็นภารกิจที่ทุกคนในชุมชนต้องร่วมกัน รวมไปถึงการเผยแพร่ความรู้ การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้ประชาชนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และรู้จักป้องกันตัวเองให้ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของทีมเฝ้าระวัง สอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วเครือข่ายระดับตำบล

1 ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่ เร็วเครือข่ายระดับตำบลได้รับการอบรมตามหลักสูตรพัฒนา srrt เครือข่ายระดับตำบลร้อยละ 80

0.00
2 2 ให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคติดต่อ

2 ครัวเรือนได้รับข่าวสารความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ร้อยละ 60

0.00
3 3 เพื่อลดอัตราป่วยโรคติดต่อในพื้นที่

3 จัดกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ไตรมาสละ 1 ครั้ง 4 อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2559-2563) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 5 โรงเรียนมีค่า CI = 0 ร้อยละ 100 6 สถานศึกษาและศาสนสถานในพื้นที่ได้รับการพ่นหมอกควันหรือละอองฝอย 2 ครั้ง/ปี ร้อยละ 100 7 บ้านที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและครอบครัวมีรัศมี 100 เมตรได้รับการพ่นหมอกควันหรือละอองฝอย 2 ครั้งห่างกัน 7 วันร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพทีม srrt ตำบล
1.1 ประชุมแต่งตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล (srrt เครือข่ายระดับตำบล) จำนวน 1 ทีมซึ่งประกอบด้วยบุคลากรสาธารณสุขจากรพ.สต. อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน,ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,ผู้นำชุมชนตัวแทนจากโรงเรียน
1.2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตามหลักสูตรพัฒนา (srrt เครือข่ายระดับตำบล) แก่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล (srrt เครือข่ายระดับตำบล) กิจกรรมที่ 2 การสร้างความรู้
2.1 จัดกิจกรรมให้ความรู้และแจ้งสถานการณ์โรคติดต่อแก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบผ่านเวทีประชาคมหรือเวทีประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน
2.2 ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคติดต่อผ่านเอกสารไวนิลประชาสัมพันธ์ซึ่งจัดทำขึ้นในลักษณะของหนังสือราชการโดยมอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้จัดส่งหนังสือดังกล่าวไปยังประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตนเองทุกครัวเรือน
2.3 จะทำเอกสารเรื่องโรคติดต่อสำหรับการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้านโดยมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบ เสียงตามสายแต่ละหมู่บ้านเป็นคนดำเนินการประชาสัมพันธ์จัดทำบอร์ดไวนิลประชาสัมพันธ์ที่รพ. สต. หมู่บ้านโรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและศาสนสถานจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์สำหรับผู้ให้ความรู้แก่ผู้รับบริการที่ รพ.สต. 2.4 จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อแก่นักเรียนโรงเรียนเขตรับผิดชอบ
2.5 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อผู้ปกครองและคุณครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2.6 จัดอบรมครูอนามัยที่รับผิดชอบงานอนามัยในโรงเรียนประถมศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2.7 จัดอบรมแกนนำ อสม.น้อย โดยคัดเลือกนักเรียนแกนนำโรงเรียนละ 5 คน กิจกรรมที่ 3 การรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 3.1 จัดกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน สถานศึกษาและศาสนสถาน โดยบุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จิตอาสา ประชาชน และนักเรียน

กิจกรรมที่ 4 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและเจ้าของบ้าน
4.1 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้สำรวจตามครัวเรือนในเขตที่ตนเองรับผิดชอบ แม่สำรวจและแจ้งผลการสำรวจแก่เจ้าของบ้านและขอความร่วมมือเจ้าของบ้านในการร่วมมือกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายดังกล่าว 4.2 ส่งผลสรุปการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายกลับมายังใน วันประจำประจำเดือนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
4.3 สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายโดยบุคลากรสาธารณสุขและแกนนำ อสม.น้อยในโรงเรียน 4.4 วิเคราะห์ผลการสำรวจโดยบุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานระบาดวิทยา จากนั้นแจ้งผลดังกล่าวกลับไปยังผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
4.5 มอบเกียรติบัตรสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ดำเนินการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องทุกเดือนโดยการสุ่มสอบถามจากเจ้าของครัวเรือน
4.6 มอบเกียรติบัตรแก่เจ้าของบ้านที่นำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายต่ออย่างต่อเนื่อง โดยนำผลมาจากการสุ่มสำรวจและจากการสอบถามจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กิจกรรมที่ 5 การทำลายยุงลายตัวเต็มวัย
5.1 พ่นหมอกควัน /ละอองฝอยในสถานศึกษาและศาสนสถานก่อนเปิดเรียนภาคเรียนการศึกษาละ 1 ครั้ง
5.2 พ่นหมอกควัน/ละอองฝอยกรณีพบผู้ป่วยในพื้นที่โดยทำการพ่นบ้านผู้ป่วยและละแวกบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตรจำนวน 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ในเคสไข้เลือดออกและพ่นวันที่ 1 3 7และ21 ในเคสชิคุนกุนย่า กิจกรรมที่ 6 การเตรียมความพร้อมด้านเคมีภัณฑ์
6.1 จัดเตรียมเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการควบคุมโรคให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อพัฒนาศักยภาพของทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วเครือข่ายระดับตำบล 2.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคติดต่อ 3.เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 11:54 น.