กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและส่งเสริมการฝากครรภ์คุณภาพ ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5171-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.เกาะใหญ่
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 13,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดรุณี เพชรพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์ จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรที่เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน และมีสุขภาพแข็งแรง น้ำหนักทารกแรกเกิด เป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการเจริญเติบโต และการมีชีวิตรอดของทารก ทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีอัตราการอยู่รอดต่ำ มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาการของเด็กล่าช้า ระบบภูมิคุ้มกันต่ำมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาท้องเสีย หรือปอดบวม ในปัจจุบันมีหลักฐานที่แสดงว่า เด็กที่โตขึ้นมาจากทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และ stroke รวมทั้งค่าใช้จ่ายเพื่อใช้จ่ายเพื่อใช้ในการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ในระยะวิกฤตมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนสูง สาเหตุสำคัญของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม (2,500 กรัม) คือ การคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อนกำหนด preterm หมายถึงการคลอดเมื่ออายุครรภ์ต่ำกว่า 37 สัปดาห์) ประมาณ 75% ของการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด เกิดในกลุ่มทารกน้ำหนักน้อย หรือถ้ารอดตายในช่วงต้นชีวิต ก็อาจมีปัญหา ในด้านการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการตามมา เช่น ปัญหาในด้านการเรียน การมองเห็นโรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร หรือการเป็นเด็กพิการ ปัญญาอ่อน จากข้อมูลจังหวัดสงขลา ย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2563 พบว่ามีอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 8.2 , 7.59 ตามลำดับ (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 7) การคลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุปัจจัยของทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม ที่เหลือเกิดจากปัจจัยด้านการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ อันเนื่องมาจากภาวะโภชนาการ การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ พฤติกรรมการบริโภค การทำงาน และการพักผ่อนของหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงสาเหตุจากครรภ์แฝดอีกด้วย จากข้อมูลอำเภอควนเนียง ย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต้ปี 2560-2563 พบว่า มีอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 13.1 , 7.4 และ 9.6 ตามลำดับ (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 7) จากข้อมูลตำบลบางเหรียง ย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2563 พบว่า มีอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ร้อยละ13.1 , 7.4 และ 9.6 ตามลำดับ (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 7) ช่วงวัยรุ่น 10-19 ปี เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ ในช่วงเวลานี้ วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ทางอารมณ์ สติปัญญาและสังคมมากมายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งทางร่างกายและจิตใจตลอดจนสังคมที่เกิดขึ้นในวัยรุ่นนั้นทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญแกต่างจากช่วงเวลาอื่นๆ ของชีวิต จึงต้องวางรากฐานการมีความสุขภาพที่ดีเพื่อให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่วัยรุ่นจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้ที่มีอายุเกินกว่า 20 ปี เช่นภาวะโลหิตจาก ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง เจ็บครรภ์คลอดนาน การคลอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม และทารกตายในครรภ์ อัตราการตายของมารดา อายุ 15-19 ปี สูงกว่ามารดาที่มีอายุ 20-24 ปี ถึง 3 เท่า นอกจากนี้การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วยคือ การต้องหยุดหรือออกจากการศึกษาไม่มีงานทำ ค่ารักษาขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งแม่วัยรุ่นและบุตรที่เกิดมา ทำให้ปัญหาเด็กเกิดน้อยแต่ด้วยคุณภาพ ของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุภาพตำบลเกาะใหญ่ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ในปี 2563 ที่ผ่านมา มีอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จำนวน 1 ราย คิกเป็นร้อยละ 0.33 ไม่มีการตั้งครรภ์ซ้ำในประชากร จากประชากร 15-19 ปีทั้งหมด 297 คน จึงได้จัดทำโครงการ เฝ้าระวังการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและส่งเสริมการฝากครรภ์คุณภาพ ปี 2564 ขึ้น เพื่อให้วัยรุ่นมีความรู้เรื่องเพศศึกษา มีทักษะชีวิต และมีการปรับทัศนคติ ค่านิยมเรื่องเพศที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้รับความรู้และทักษะในการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่ และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ 2.เพื่อส่งเสริมการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ลดอัตราเสี่ยงในการตั้งครรภ์ 3.อัตราการเสี่ยงตั้งครรภ์ในวัยรุ่นน้อยกว่าร้อยละ 10

1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมเพิ่มขึ้นเปรียบเทียบก่อนหลังเข้าอบรม 3.อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นน้อยกว่าร้อยละ 10 4.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ การฝากครรภ์คุณภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ 3.จัดทำเอกสาร/แผ่นพับความรู้ 4.ดำเนินการตามโครงการ 4.1 อบรมกลุ่มนักเรียน วัยใส (นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6) จำนวน 50 คน 4.2 อบรมหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 20 คน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 2.อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 3.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจ การฝากครรภ์คุณภาพ 4.อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นน้อยกว่าร้อยละ 10 5.วัยรุ่นวัยเรียนเกิดการเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศได้อย่างถูกต้อง 6.วัยรุ่นวัยเรียนให้ความสำคัญของการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 13:41 น.