กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนและชุมชน (ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย) รพ.สต.เกาะใหญ่ ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา ปีงบประมาณ 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนและชุมชน (ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย) รพ.สต.เกาะใหญ่ ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5171-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.เกาะใหญ่
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 23,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดรุณี เพชรพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุรภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากปริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่มีผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้าและเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผุ้บริโภคพบว่า การใช้เครื่องอุปดภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อป็การคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพลับริการสุขภาพซึ่ง 2 กลุ่มนี้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถแก้ไขปัญหาได้อีกส่วนหนึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ

ผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง ร้อยละ 90 จากการทำแบบทดสอบ

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ

ผู้ประกอบการร้านขายของชำมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ หลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อสร้างกลุ่ม อย.น้อย ในทุกๆโรงเรียน และอย.น้อยสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัวและชุมชน

มีกลุ่ม อย.น้อยในโรงเรียนทั้ง 5 โรงเรียน

0.00
4 เพื่อเฝ้าระวังการขายยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพในร้านขายของชำ

ร้อยละ 100 ของร้านขายของชำได้รับการตรวจสอบ/ติดตาม และเฝ้าระวัง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนที่ 1 สำรวจข้อมูล 1.1 สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมเอกสารเกี่ยวกับร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงเรียน ชุมชน ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.เกาะใหญ่ เพื่อจัดทำโครงการ ขั้นตอนที่ 2 ติดต่อประสานงาน 2.1 ติดต่อประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ส่วนราชการ ชุมชน โรงเรียน ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตัวแทนผู้บริโภค 2.2 จัดทำสื่อ ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข่าวสารให้แกลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปได้ทราบโดยผ่านเสียงตามสายหมู่บ้าน ขั้นตอนที่ 3 อบรม และจัดรณรงค์ 3.1 ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับ รพ.สต.
3.2 จัดตั้ง อสม. แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค และจัดอบรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพแกนนำเพื่อให้ออกตรวจเฝ้าระวังร้านขายของชำในหมู่บ้าน 3.3 อบรมผู้ประกอบการค้าอาหาร (ร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหาร) อสม และตัวแทนผู้บริโภค จำนวน 50 คน 3.4 อบรครูอนามัย รร. นักเรียนชั้น ป.4 ป.5 (เพื่อสร้างกลุ่ม อย.น้อย 3.5 รณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ คุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนและโรงเรียน การเลือกใช่ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยจำนวน 100 คน ในตลาดนัดคลองคล้าภายใต้สโลแกน (ตลาดนัดคลองคล้า ชุมชนคนรักสุขภาพ) และติดป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ความรู้ทุกหมู่บ้าน และวัด 5 แห่ง ขั้นตอนที่ 4 ติดตามประเมินผล 4.1 ติดตามประเมินผลทุกๆ 1 เดือน จำนวน 3 ครั้ง 4.2 มอบป้ายร้านชำคุณภาพให้กับร้านชำที่ผ่านการประเมินทั้ง 3 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ 2.ผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค และได้รับการเฝ้าระวัง/ตรวจสอบตามกฎหมาย
3.มีกลุ่ม อย.น้อย ในโรงเรียน 5 โรงเรียน 4.มีกลุ่มแกนนำสุขภาพด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 13:57 น.