กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ใส่ใจออกกำลังกาย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 พฤษภาคม 2564 - 31 ตุลาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,455.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 118 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กไม่สนใจในการออกกำลังกาย
60.00
2 ร้อยละของเด็กที่มีพัฒนาการด้านร่างกายไม่สมวัย
40.00
3 ร้อยละของเด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนและสังคม
30.00
4 ร้อยละของเด็กที่ไม่สามารถมีกิจกรรมทางกายเพียงพอต่อวัน เนื่องจากขาดอุปกรณ์การออกกำลังกาย
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ พัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มุ่งให้เด็กพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้เด็กมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ซึ่งเด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่นเรียนรู้อย่างมีความสุข การปฏิรูปการเรียนรู้ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ปรับปรุงแก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด การพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแบบบูรณาการกับกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมในศูนย์เด็กเล็ก ตามแนวทางจัดการศึกษาระดับปฐมวัย สุขภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิต ถ้าบุคคลมีสุขภาพดีจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่วัยเด็ก การเฝ้าระวังสุขภาพในวัยเด็กปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทำประโยชน์ให้สังคม ตามบทบาทและหน้าที่ของตน ในฐานะพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจสามารถครองชีวิตอย่างเป็นสุข ในปัจจุบันการปฏิรูปการศึกษาได้ปฏิรูปไปสู่การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นมากในสถานศึกษา เพราะการที่เด็กและเยาวชนมีสุขภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจส่งผลให้สามารถเรียนหรือทำกิจกรรมต่างๆ ไปด้วยดี มีประสิทธิภาพ การเล่นกีฬาฟุตบอลและแชร์บอล เป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่สร้างความสนุกสนาน เล่นได้ทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับคนทุกเพศ ทุกวัย เป็นกิจกรรมนันทนาการ ทำให้หัวใจมีความแข็งแรง อดทน และส่งเสริมทักษะความคล่องแคล่วว่องไวต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย การทรงตัวและการเคลื่อนไหวที่มั่นคง โดยมีเสียงดนตรีประกอบการเล่นทำให้เด็กมีความสนุกสนานอารมณ์แจ่มใสและเพลิดเพลิน ดังนั้น เพื่อให้การดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาวจึงจัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดี ใส่ใจออกกำลังกายขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนของเด็กที่ไม่สนใจในการออกกำลังกาย

ร้อยละของเด็กที่ไม่สนใจในการออกกำลังกายลดลง

60.00 5.00
2 เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีพัฒนาการด้านร่างกายไม่สมวัย

ร้อยละของเด็กที่มีพัฒนาการด้านร่างกายไม่สมวัยลดลง

40.00 10.00
3 เพื่อลดจำนวนของเด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนและสังคม

ร้อยละของเด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนและสังคมลดลง

30.00 5.00
4 เพื่อลดจำนวนเด็กที่ไม่สามารถมีกิจกรรมทางกายเพียงพอต่อวัน เนื่องจากขาดอุปกรณ์การออกกำลังกาย

ร้อยละของเด็กที่ไม่สามารถมีกิจกรรมทางกายเพียงพอต่อวัน เนื่องจากขาดอุปกรณ์การออกกำลังกาย ลดลง

40.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
25 - 31 พ.ค. 64 ประชุมวางแผนการดำเนินงานกิจกรรม 0 225.00 -
7 - 11 มิ.ย. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องพัฒนาการเจริญเติบโตที่สมวัยทางด้านร่างกาย 0 8,450.00 -
12 - 30 มิ.ย. 64 จัดซื้ออุปกรณ์ตามโครงการ 0 14,780.00 -
1 ก.ค. 64 - 31 ต.ค. 64 จัดกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง 0 0.00 -
1 - 30 พ.ย. 64 ติดตามและประเมินผลการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 0 0.00 -
1 - 10 ธ.ค. 64 รายงานผลการดำเนินงาน 0 0.00 -
รวม 0 23,455.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กสนใจในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น 2.เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายเหมาะกับสมวัย 3.เด็กสามารถมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนและสังคมเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 00:00 น.