กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน รพ.สต.เกาะใหญ่ ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5171-1-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.เกาะใหญ่
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 7,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดรุรี เพชรพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) โดยไม่เหมาะสมหรือไม่จำเป็นและการนำสเตียรอยด์ไปใช้ในทางที่ผิด นับเป็นปัญหาต่อสุขภาพประชาชนในระดับประเทศ ซึ่งเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องนอกจากนี้ผู้ป่วยจำนวนมากมักไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชในการรับประทานยาส่งผลให้รับประทานยาปฏิชีวนะไม่ครบจำนวน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา ส่วนปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ในทางที่ผิดจะทำให้ได้รับอันตรายจากการใช้ยา เช่นระคายเคืองกระเพาะอาหาร กระดูกพรุน ไตวาย ระดับน้ำตาลในเลือดสูง รวมทั้งภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ลดลงจนทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะและยาสเตียรรอยด์ดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบายให้โรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัดเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างเหมาะสมเหตุสมผล โดยในระดับชุมชนให้มีการเฝ้าระวังการจำหน่ายยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ ยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs และผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตราย เช่น ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ยาสมุนไพรผสมสเตียรอยด์ หรือยากลุ่ม NSAIDs ในร้านขายของชำ จากการสำรวจความรู้เรื่องการใช้ยาของประชาชนในพื้นที่พบว่าใช้ยาไม่ถูกต้องจำนวน 27 หลังคาเรือนและสำรวจร้านค้าที่จำหน่ายยาในชุมชน จำนวน 19 ร้าน พบยาปฏิชีวนะเช่น ยาห้าแสนและผงวิเศษตราร่มชูชีพ จำนวน 7 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 31.84 และจากการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังคงมียาเหลือใช้ที่บ้านเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลต่อความปลอดภัยหรืออันตรายจากการใช้ยาเกินความจำเป็น ยาหมดอายุ หรือยาเสื่อมสภาพได้ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน ปี 2564 เพื่อส่งเสริมการเฝ้าระวังการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้สึกและความเข้าใจในการปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม และตระหนักถึงโทษของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มียาสเตียรอยด์ผสมรวมถึงได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คนในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างปลอดภัย ครอบคลุมทั้งยาปฏิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์ อย่างสมเหตุสมผล

ประชาชนมีความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อให้คนชุมชนร่วมกันเฝ้าระวัง ตรวจสอบแหล่งขายยาในชุมชน เช่น ร้านค้า ร้านชำ ร้านขายยา มอให้มีการลักลอบขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย
  1. เกิดเครือยข่ายการเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชนโดยร่วมมือกันทุกภาคเครือข่าย
  2. ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการตรวจสอบได้มาตรฐานตามเกณฑ์ร้อยละ 95
0.00
3 เพื่อให้คนในชุมชนลดปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ยาชุดและยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น

การใช้ยาปฏิชีวนะใน รพ.สต. ไม่เกินร้อยละ 20

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนที่ 1 สำรวจข้อมูล 1.1 สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมเอกสารสถานการณ์การขายในร้ายชำ และการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.เกาะใหญ่ เพื่อจัดทำโครงการ ขั้นตอนที่ 2 ติดต่อประสานงาน 2.1 ติดต่อประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ส่วนราชการ บุคลาการทางแพทย์ เช่น ผู้รับผิดชอบระดับอำเภอ เภสัชกรและ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน เช่น อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน ครู ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น ขั้นตอนที่ 3 ประชุม ชี้แจง 3.1 ประชุมจี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกันต่อกลุ่มเป้าหมายในการขับเคลื่อนเพื่อเกิดการใช้ยาที่ปลอดภัยในชุมชนโดยที่ผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์ เช่นเภสัชกร ผู้รับผิดชอบระดับอำเภอเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน เช่น อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน ครู ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น ขั้นตอนที่ 4 การอบรมให้ความรู้ 4.1 การพัฒนาศักยภาพการใช้ยานุมชนโดยการจัดอบรมเพิ่มทักษะและความรู้เรื่องยาปฏิชีวนะ ยาชุดและยาสเตียรอยด์ให้แก่ อสม. ในพื้นที่ ขั้นตอนที่ 5 เฝ้าระวังและเยี่ยมบ้าน 5.1 เฝ้าระวังและควบคุมแหล่งกระจายในชุใชนตรวจสอบแหล่งกระจายยาที่มีการสะสมยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์ (ร้านขายยา ร้านค้า ร้านชำ ในชุมชนทุกร้าน) และการกระจายความรู้ผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้าน 5.2 เยี่ยมบ้าน เพื่อติดตามการทานยาและคัดกรองผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจากการใช้ยาและส่งต่อเพื่อรับรักษาที่เหมาะสม 5.3 การประชาสัมพันธ์ให้คนไข้นำยาเหลือใช้ที่บ้านมาให้เจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มารับบริการ ภายใต้กิจกรรม “พกยามาหาหมอ” ขั้นตอนที่ 6 สรุปผลการดำเนินงาน 6.1 สรุปผลการดำเนินงานแก่กลุ่มเป้าหมายและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการดำเนินงาน 6.3 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่าง กลุ่มผู้ดำเนินโครงการ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงโนชุมชนและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้ ชุมชนมีการพัฒนากลไกในการจัดการปัญหาของตนเอง และทบทวนประสบการณ์การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ และปฏิบัติตันในการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้อง
  2. ประชานชนในพื้นที่ รพ.สต.เกาะใหญ่ ได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยามากขึ้น
  3. ครัวเรือนในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.เกาะใหญ่ มีการใช้ยาปฏิชีวนะลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 14:13 น.