กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาระบบเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กลุ่มประชากรเป้าหมายหลักและกลุ่มแรงงาน ปี 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กลุ่มประชากรเป้าหมายหลักและกลุ่มแรงงาน ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5248-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 28,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทิพย์ พรหมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 276 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์และวัณโรค     ปัญหาเอดส์ในแรงงานต่างด้าวไม่ได้เป็นเพียงแต่ปัญหาสุขภาพของแรงงานต่างด้าวเท่านั้น แต่จะมีผลต่อสุขภาพประชาชนไทย และโยงใยไปถึงปัญหาพื้นฐานอื่น ๆ ในสังคมไทย ทั้งปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา รวมถึงกระทบต่อวัฒนธรรม วิถีชุมชนอีกด้วย หมู่ที่ 8 ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานทั้งคนไทยและแรงงานข้ามชาติเข้ามาประกอบอาชีพในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ปัญหาที่พบอีกส่วนหนึ่งคือการย้ายที่อยู่ การเปลี่ยนนายจ้าง และการอพยพกลับประเทศของกลุ่มแรงงานต่างด้าว ทำให้ไม่สามารถติดตามการรักษาได้อย่างครบถ้วน และการควบคุมป้องกัน และแก้ไขดำเนิน การได้ยากมากขึ้น กลวิธีการดำเนินการ กรอบแนวคิดรูปแบบการป้องกันเอดส์ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวทั้งที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียน ควรประกอบไปด้วย 1) การให้ความรู้เกี่ยวกับเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวิธีการป้องกัน 2) อาสาสมัครแกนนำแรงงานต่างด้าว 3) การปรับระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อแรงงานต่างด้าวทั้งจดทะเบียนและไม่จดทะเบียน 4) การผลักดันนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น การพัฒนาสมรรถนะผู้เกี่ยวข้อง การดำเนินการในด้าน 1) การให้ความรู้เกี่ยวกับเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์วิธีการป้องกัน และควรมีการอบรมทักษะการสื่อสารหรือการผลิตสื่อ ที่แรงงานสามารถเข้าใจได้ ทั้งที่เป็นเอกสารและ ทางสื่ออื่นๆ 2) กลวิธีในการรับสมัครอาสาสมัครแกนนำแรงงานต่างด้าว (อสต.) 3) การจัดหาล่าม หาการย้ายถิ่น และเชื่อมกับระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อแรงงานต่างด้าว โดยมีสื่อ และล่ามที่เป็นอาสาสมัคร สัมฤทธิ์ผลของโครงการ กลวิธีและรูปแบบของการป้องกันเอดส์ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ข้ามชาติ พบว่า อาสาสมัครแกนนำแรงงานต่างด้าว (Peer educators) ส่วนการดำเนินโครงการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ โดยผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ โดยผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว การปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยและการแจกจ่าย การปรับมุมมองที่มีต่อแรงงานต่างด้าว ในกลุ่มผู้ประกอบการ และการปรับมุมมองของชุมชน การดำเนินโครงการด้านเอดส์ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว  สร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรส่วนท้องถิ่น เจ้าของกิจการ และชุมชน ในการให้ความรู้ การมีอาสาสมัครแรงงาน การผลักดันนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์บริหารส่วนท้องถิ่น รวมถึงการปรับมุมมองและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริงของแรงงานต่างด้าว ให้แก่ผู้ประกอบการ ชุมชนและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหาร เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวมีความต่อเนื่องและยั่งยืน สร้างแกนนำอาสาสมัครแกนนำแรงงานต่างด้าว ให้เป็นเครือข่ายของศูนย์บริการแรงงานต่างด้าว (Drop – in Center) สำหรับการประสานการเข้าถึงบริการในด้านต่าง ๆ เช่น ถุงยางอนามัย สื่อ รวมถึงให้คำปรึกษา และความช่วยเหลือกลุ่มแรงงานต่างด้าวครอบครัว และกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ การปรับระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อ แรงงานต่างด้าวทั้งจดทะเบียนและไม่จดทะเบียน พัฒนาระบบบริการคลินิกกามโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าวอยู่เป็นจำนวนมาก มีการจัดบริการปรึกษาและตรวจเลือดเอชไอวีโดยความสมัครใจ (Voluntary counseling and testing VCT) โดยมีสื่อ และล่ามที่เป็นอาสาสมัคร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. กลุ่มเป้าหมาย มีความเข้าใจและได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ๒. กลุ่มเป้าหมาย มีเจตคติที่ดีต่อผู้ติดเชื้อเอดส์ และผู้ป่วยโรคเอดส์สามารถยอมรับการอยู่ร่วมกันในสังคมได้ ๓. สามารถปรับเปลี่ยนลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ได้ ๔. คลินิก (DIC : Drop in Center)เป็นที่รู้จักและเข้าถึงบริการของประชาชนมากขึ้นและทั่วถึง
  1. กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจติดเชื้อเอชไอวีและคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวัณโรคได้รับการส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการรักษาร้อยละ 100
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมคณะเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงานและมอบหมายงาน
๒. ประสานงานกับโรงงานเพื่อให้ความรู้ผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าวผ่านเสียงตามสาย

ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่อง โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์     - กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน     - กลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน     - แกนนำนักเรียนโรงเรียนบ้านหัวถนนและโรงเรียนบ้ายางเกาะ     - กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มแรงงาน ในสถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม 1 โรงงาน (โรงงานเซฟสกิน) 1 ครั้ง     - ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์     - ความตระหนักในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ – การป้องกันตนเองจากโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กิจกรรมที่ 2 - ประชาสัมพันธ์การให้บริการคลินิก (DIC : Drop in Center) รพ.สต.หัวถนน แจกแผ่นพับ และถุงยางอนามัย กิจกรรมที่ 3 บริการ (DIC : Drop in Center) รพ.สต.หัวถนน -  จัดบริการศูนย์บริการชุมชน (DIC : Drop in Center) เพื่อให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการ ได้รับความสะดวกรวดเร็ว เป็นกันเอง เบ็ดเสร็จลดขั้นตอน ได้รับทั้งความรู้ อุปกรณ์การป้องกัน เชื่อมโยงระบบการป้องกัน เข้าสู่การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีและคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการรักษา   ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมคณะเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงานและมอบหมายงาน ๒. แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์คลินิก เพื่อประชาสัมพันธ์การเปิดบริการ ๓.จัดทำเอกสารให้ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ๔. เตรียมถุงยางเพื่อให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป
5. เตรียมชุดอุปกรณ์สะอาดสำหรับผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด
6. เตรียมแบบประเมินความพึงพอใจ ขั้นดำเนินการ ๑. จัดบริการ (DIC : Drop in Center) เพื่อให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการ โดยเน้นกลุ่มดังนี้
- แรงงานข้ามชาติและประชาชนที่มีความเสี่ยง

กลุ่มอื่นๆ - ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย - สาวประเภทสอง - พนักงานบริการชาย - พนักงานบริการหญิง - ผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีด - ประชาชนทั่วไป ๒. ให้สุขศึกษาแก่ผู้รับบริการผ่านสื่อและอุปกรณ์
๓. บริการตรวจเลือด และฟังผลเลือด แบบ one stop service โดยเจ้าหน้าที่พยาบาลที่มีความรู้เฉพาะทางและเก็บข้อมูลผู้รับบริการเป็นความลับทุกราย ๔. ให้คำปรึกษาและแจกอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงยางอนามัยชาย/ หญิง อุปกรณ์สะอาดสำหรับผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด ๕. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเป้าหมาย มีความเข้าใจและได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ๒. กลุ่มเป้าหมาย มีเจตคติที่ดีต่อผู้ติดเชื้อเอดส์ และผู้ป่วยโรคเอดส์สามารถยอมรับการอยู่ร่วมกันในสังคมได้ ๓. สามารถปรับเปลี่ยนลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ได้ ๔. คลินิก (DIC : Drop in Center)เป็นที่รู้จักและเข้าถึงบริการของประชาชนมากขึ้นและทั่วถึง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 14:30 น.