กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย
รหัสโครงการ 64-L4117-3-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนผู้สูงอายุ
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 32,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนันต์ สุวรรณราช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในปี 2564 ประเทศไทยถือเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั่นคือ ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกินร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด(Super Aged Society) ในปี พ.ศ. 2578 ซึ่งประชากรที่สูงอายุจะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้จากข้อมูลการสำรวจการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี พ.ศ. 2558 จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ และยังพบว่า ร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุมีความเจ็บป่วยด้วยโรคและปัญหาสุขภาพ มีเพียงร้อยละ 5 ที่มีสุขภาพแข็งแรง ผู้สูงอายุ 1 ใน 2 คน อ้วนและเป็นโรคอ้วน และยังพบว่าผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพียงร้อยละ 46 มีผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว จำนวน 6 แสนคน หรือร้อยละ 7.7 และอยู่ลำพังกับคู่สมรสจำนวน 1.3 ล้านคนหรือร้อยละ 16 ในปี 2555 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 2553 พบว่ามีร้อยละ 19.7 และจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 58.3 ในปี 2583 แนวโน้มของผู้สูงอายุนับวันจะมีจำนวนมากขึ้นอันจะนำมาซึ่งภาวะเสี่ยงและปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะการเจ็บป่วยเรื้อรัง เนื่องจากวัยสูงอายุมีธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงในทางที่เสื่อมลงทั้งทางด้านร่างกายจิตใจและสังคม ทั้งนี้พบว่า ผู้สูงอายุมีสถิติการเกิดโรคมากกว่าวัยอื่น ๆ ถึง 4 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปี ประมาณ 4 ใน 5 คน จะมีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค ส่วนปัญหาทางด้านจิตใจในผู้สูงอายุที่สำคัญคือ ภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียบุคคลใกล้ชิด รวมทั้งการขาดรายได้การเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ในสังคม จึงมีความจำเป็นที่ต้องเตรียมการในการดูแลผู้สูงอายุ ในด้านการส่งเสริมบทบาททางสังคมและการดูแลสุขภาพเพื่อรองรับการบริการของผู้สูงอายุตามสิทธิตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ปัจจุบันผู้สูงอายุตำบลบาละ มีจำนวน 902 คน สถิติจากผู้มาลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแต่ตั้งต้นจนถึงเดือนธันวาคม 2563 และสถิติจากระบบข้อมูลตำบล TCNAP พบว่ามีปัญหาด้านสุขภาพได้แก่ปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จำนวน 492 คน คิดเป็นร้อยละ 54.5 โรคที่ผู้สูงอายุเป็นมากที่สุดคือโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 241 คน คิดเป็นร้อยละ 52.5 รองลงมาคือโรคข้อเสื่อม จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 13.8 โรคเบาหวาน จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 9.7 โรคหัวใจ จำนวน 18 คน คิดเป็น ร้อยละ 3.6 โรคไต จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1 โรคมะเร็ง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.4 และโรคอื่น ๆ จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 22.3 ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง และบทบาทของครอบครัวต่อการดูแลผู้สูงอายุเริ่มมีแนวโน้มลดลง ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบาย และกำหนดแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุตลอดมา แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ทั้งนี้แม้แต่การเข้าถึงบริการที่ไม่ทั่วถึง เนื่องจากยังเป็นการดูแลและบริการที่แยกส่วนระหว่างชุมชน ท้องถิ่น และองค์กรต่าง ๆ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบาละเล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพ ดูแลตนเอง เพื่อให้มีอายุยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี สอดคล้องกับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552 ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 6 มาตรการ ได้แก่ (1) มาตรการส่งเสริมสุขภาพป้องกันการเจ็บป่วย และดูแลตนเองเบื้องต้น (2) มาตรการส่งเสริมการรวมกลุ่มและสร้างความเข้มแข็งขององค์กรผู้สูงอายุ (3) มาตรการส่งเสริมด้านการทำงานและการหารายได้ของผู้สูงอายุ (4) มาตรการสนับสนุนผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ (5) มาตรการส่งเสริมสนับสนุนสื่อทุกประเภทให้มีรายการเพื่อผู้สูงอายุ และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้และสามารถเข้าถึงข่าวสารและสื่อ (6) มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบาละเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่กับครอบครัวและบุตรหลานอย่างปกติสุขและมีสุขภาพสมบูรณ์ตามควรแก่วัย จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลบาละ

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

0.00
4 เพื่อให้เกิดกิจกรรมร่วมกันระหว่างชุมชนและหน่วยงาน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลบาละ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อให้เกิดกิจกรรมร่วมกันระหว่างชุมชนและหน่วยงาน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ผู้สูงอายุ ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเคร้า กินข้าวอร่อย 32,320.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประชุมคณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่ อบต.บาละ เพื่อเตรียมการดำเนินงาน
    2.จัดอบรมให้ความรู้ตามหัวข้อกิจกรรม
    • กิจกรรมไม่ล้ม
    • กิจกรรมไม่ลืม
    • กิจกรรมไม่ซึมเศร้า
    • กิจกรรมกินข้าวอร่อย
  2. สรุปผลการดำเนินงาน
  3. ประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิต และสุขภาพกายที่ดีขึ้น
  2. ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีได้
  3. เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนและหน่วยงาน
  4. ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 15:19 น.