กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กเล็กสวยด้วยฟันดี ด้วยมือผู้ปกครอง (ลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก ) ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5248-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริจันทร์พร พลเพ็ชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันนำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออกและยังส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ มีการศึกษาพบว่า การมีฟันผุหลายซี่ในปาก มีความสัมพันธ์กับภาวะแคระแกรนของเด็กการสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนดทำให้เด็กรับประทานอาหารลำบากเคี้ยวไม่สะดวกและเด็กที่มีฟันน้ำนมผุมากจะมีผลให้ฟันแท้ผุมากขึ้นด้วย ซึ่งสภาวะโรคฟันผุในเด็กเล็กเราสามารถป้องกันการเกิดปัญหาเหล่านี้ได้โดยอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองในการให้ความสนใจสุขภาพช่องปากของลูกตั้งแต่ลูกเริ่มมีฟันตั้งแต่ซี่แรกขึ้นการดูแลรักษาความสะอาดการบริโภค และการได้รับฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่ทันตบุคลากร การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตามประเมินผล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด ได้เห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กเล็ก จึงได้จัดทำโครงการยิ้มใส ห่างไกลฟันผุขึ้น เพื่อลดสภาวะฟันน้ำนมผุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการดูแลทันตสุขภาพแก่เด็ก

ผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกสอนแปรงฟันไม่น้อยกว่าร้อยละ80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑.เสนอโครงการเพื่อของบประมาณต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก ๒.ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุข รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่ององค์ความรู้ วัตถุประสงค์โครงการและแนวทางการคัดกรอง ๓.แบ่งพื้นที่กลุ่มเป้าหมายให้แก่ อสม.ผู้รับผิดชอบครัวเรือน ส่งกลุ่มเป้าเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเข้าการอบรม ๔.ประชาสัมพันธ์การจัดทำโครงการ
ขั้นดำเนินการ 1.ดำเนินการอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลฟัน ในกลุ่มเป้าหมาย 2.ฝึกวิธีการตรวจฟันสำหรับเด็กเล็ก ให้ผู้ปกครอง 3.ตรวจสุขภาพช่องปาก และวางแผนการักษา รวมทั้งทาฟลูออไรท์วานิชในเด็ก 4.สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปาก 2.เด็กปฐมวัย ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
3.เด็กปฐมวัยที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้รับคำแนะนำ และส่งต่อมารับการบริการที่จำเป็นที่โรงพยาบาล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 16:15 น.