กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการออกกำลังกายวันละนิด เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น
รหัสโครงการ 64-L8402-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 7
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,075.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอารมย์ พุทธังกุโร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนมากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลจากสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เข้ามาอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายลดลงส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลงเรื่อยๆ นำไปสู่ภาวการณ์เสื่อมสภาพของร่างกายและจิตใจ รวมทั้งก่อให้เกิดความบกพร่องในการสร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ข้อเสื่อม ข้อติด รวมทั้งโรคเครียด ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการขาดการออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรมการเคลื่อนไหว หรือการใช้แรงกายลดลง ซึ่งเอไอเอ ประเทศไทย ได้เผยผลการสำรวจ ดัชนีเอไอเอ เฮลธ์ตี้ ลิฟวิ่ง อินเด็กซ์ ประจำปี 2561 ซึ่งนับเป็นการสำรวจครั้งที่ 4 นับตั้งแต่ปี 2554 โดยเน้นสำรวจแนวโน้มด้านสุขภาพ แรงจูงใจ และความกังวลในเรื่องสุขภาพของบุคคลและชุมชนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่า ปัจจุบันคนไทยพอในในสุขภาพของตนเองน้อยลง แม้จะมีพฤติกรรมด้านสุขภาพดีขึ้นโดยผู้ตอบแบบสอบถามได้ใช้เวลาในการออกกำลังกายโดยเฉลี่ย 4.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในปี 2559 แต่ระดับความพึงพอใจในสุขภาพลดลงเหลือเพียง 82 % จาก 86 % ในปี 2559 สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา การมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายถึงเพียงการมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพเท่านั้น ต้องขึ้นอยู่กับประชาชนรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะโรคบางโรคสามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายดีกว่าการรอให้เกิดการเจ็บป่วยแล้วรักษา จะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณในการดูแลรักษาจำนวนมาก การที่คนเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ดังนั้น ประชาชนจึงควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตนเองมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการขยับกายวันละนิด เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ในประชาชนทั่วไป ในพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านควนปอม ซึ่งเป็นพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม ตำบลคูหาใต้ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีความรู้เรื่องการออกกำลังกายและมีสุขภาพแข็งแรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในกลุ่มผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่า 25 มีความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการออกกำลังกายหลังเข้าร่วมโครงการมากกว่า ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้ประชาชนในกลุ่มผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่า 25 มีพฤติกรรมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการมากกว่า ร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีค่าดัชนีมวลกายลดลง

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีค่าดัชนีมวลกายลดลง ร้อยละ 50

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 4,075.00 0 0.00
24 ก.พ. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย 30 4,075.00 -

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนและกำหนดกลุ่มเป้าหมาย   1.1 ประชุมกลุ่มวางแผนงาน   1.2 คิดกิจกรรมในโครงการ   1.3 เขียนโครงการ   1.4 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ กิจกรรมที่ 2 ดำเนินงานตามแผน   2.1 สืบค้นข้อมูล   2.2 จัดทำสื่อ   2.3 ประชาสัมพันธ์โครงการ กิจกรรมที่ 3 ดำเนินกิจกรรม   3.1 วัดค่าดัชนีมวลกายของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนเข้าร่วมโครงการ   3.2 ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย และวิธีการดูแลสุขภาพ แจกแบบบันทึกการติดตามการออกกำลังกาย   3.3 ออกกำลังกายแบบแอร์โรบิคในตอนเย็นของทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ พร้อมสาธิตท่าออกกำลังกายด้วยยางยืด กิจกรรมที่ 4 ขั้นประเมิน   4.1 ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการหลังเข้า

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการออกกำลังกายและวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง 2.กลุ่มเป้าหมายมีการออกกำลังกายและมีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น 3.ประชาชนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี ลดภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ 4.ประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และห่างไกลยาเสพติด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2564 10:38 น.