กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หมู่ที่ 5-12 ตำบลพนางตุง ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64– L3323-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง
วันที่อนุมัติ 16 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอภิวัฒน์ หมุดลิหมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิด ระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท เพื่อป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม การฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น     ตำบลพนางตุง เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม  โดยมีพื้นที่ ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งประกอบไปด้วย การทำนา ทำสวนยางพารา พืชล้มลุกทางการเกษตรอีกหลายชนิด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง ยังอยู่ในระดับที่รุนแรง และสูง ในปีงบประมาณ 256๓ จากการเจาะเลือดเกษตรกร ประจำปี ๒๕๖๓ พบว่า

    ตรวจครั้งที่ ๑ จำนวน ๔๕๕ คนโดยใช้กระดาษ Reactive paper พบว่า ปกติ ๔๘ คน ร้อยละ ๑๐.๑๒ ปลอดภัย ๑๙๓ คนร้อยละ ๔๑.๕๑ มีความเสี่ยง ๑๖๖ คน ร้อยละ ๓5.๗๐ และไม่ปลอดภัย ๕๘ คน ร้อยละ 1๒.๔๗
    จากข้อมูลดังกล่าว พบว่าเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงในหมู่ที่ ๕-๑๒ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งตรวจพบระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จำนวน ๑๖๖,๕๘ คน ร้อยละ ๓5.๗๐,1๒.๔๗ ตามลำดับ แสดงว่ามีการนำสารเคมีมาใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ เมื่อมีการอบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเมื่อตรวจครั้งที่ ๒ (เกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงที่มีผลการตรวจครั้งที่ ๑ มีระดับเสี่ยงและไม่ปลอด) จำนวน ๒๒๒ คน พบว่า ปกติ ๖๓ คน ร้อยละ ๒๘.๓๘ ปลอดภัย ๑๒๓ คนร้อยละ ๕๕.๔๑ มีความเสี่ยง ๒๙ คน ร้อยละ ๑๓.๐๖ และไม่ปลอดภัย ๗ คน ร้อยละ ๓.๑๕

      จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงในหมู่ที่ ๕-๑๒ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นมีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หมู่ที่ 5-12 ตำบลพนางตุง ปีงบประมาณ 2564 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับความรู้และตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อเฝ้าระวังสภาวะสุขภาพจากสารเคมี ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป

1.เกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดร้อยละ 30

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการใช้สารเคมีในการเกษตรที่ถูกต้องและปลอดภัย ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
1 - 30 เม.ย. 64 1. เตรียมข้อมูลสถานะสุขภาพ ร่วมกับ อสม. พชต.พนางตุง ผู้นำชุมชน กลุ่มเป้าหมายในการคัดกรอง เอกสารการที่ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและประชาชนกลุ่มเสี่ยง อายุ 35 ปีขึ้นไป 0 0.00 -
1 - 31 พ.ค. 64 2. พชต.พนางตุง ประชาสัมพันธ์ร่วมกับ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทราบ พร้อมนัด วัน เวลาและสถานที่ในการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเสี่ยง 0 0.00 -
1 - 31 พ.ค. 64 3. เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส 0 10,000.00 -
1 พ.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 4. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเสี่ยง 0 0.00 -
1 - 30 มิ.ย. 64 5. จำแนกประชาชนที่ผลการตรวจพบระดับสารเคมีในเลือด ออกเป็น 4 ระดับประกอบด้วย ระดับไม่ปลอดภัย ระดับเสี่ยง ระดับปลอดภัย ระดับปกติ 0 0.00 -
1 มิ.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 6. แจ้งผลการตรวจหาสารเคมีในเลือด ให้คำแนะนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกร การเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษ การล้างผักและผลไม้สดอย่างถูกวิธี 0 0.00 -
1 - 31 ก.ค. 64 7. ประชาชนที่ผลการตรวจพบระดับสารเคมีในเลือด ระดับไม่ปลอดภัยและเสี่ยง แนะนำเข้าสู่กระบวนการขับสารพิษ คือการรับประทานชาชงรางจืด 0 0.00 -
1 - 31 ก.ค. 64 8. ประชาชนที่ผลการตรวจพบระดับสารเคมีในเลือด ระดับไม่ปลอดภัยและเสี่ยง ได้รับการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างซ้ำ 0 0.00 -
1 - 31 ก.ค. 64 9. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 0 0.00 -
  1. เตรียมข้อมูลสถานะสุขภาพ ร่วมกับ อสม. พชต.พนางตุง ผู้นำชุมชน เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายในการคัดกรอง เกษตรกรที่ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและประชาชนกลุ่มเสี่ยง อายุ 35 ปีขึ้นไป
  2. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายทราบ พร้อมนัด วัน เวลาและสถานที่ในการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเสี่ยง
  3. เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอ็นไซม์ โคลีนเอสเตอเรส และอุปกรณ์
  4. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเสี่ยง
  5. จำแนกประชาชนที่ผลการตรวจพบระดับสารเคมีในเลือด ออกเป็น 4 ระดับประกอบด้วย ระดับไม่ปลอดภัย ระดับเสี่ยง ระดับปลอดภัย ระดับปกติ
  6. แจ้งผลการตรวจหาสารเคมีในเลือด ให้คำแนะนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกร การเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษ การล้างผักและผลไม้สดอย่างถูกวิธี
  7. ประชาชนที่ผลการตรวจพบระดับสารเคมีในเลือด ระดับไม่ปลอดภัยและเสี่ยง แนะนำเข้าสู่กระบวนการขับสารพิษ คือการรับประทานชาชงรางจืด
  8. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย
    1. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2564 13:13 น.