กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID -19 หมู่ที่ 9 ตำบลนาพละ
รหัสโครงการ 64- L1496-02-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) หมู่ที่ 9
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 1,990.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) หมู่ที่ 9
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธนิญาภรณ์ ทองแจ้ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.599,99.664place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้โรคไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการตายไม่ได้สูงมากนัก ร้ายแรงน้อยกว่า SAR ซึ่งมีอัตราการตาย ดังนั้น มาตรการการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19 นั้นถือว่าจำเป็น ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่มีคนพลุกล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮอล์เจล สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการ การไม่นำเอามือมาป้ายหรือ จับหน้า     อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)หมู่ที่ ๙ ต.นาพละ รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อและเฝ้าระวังสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างโดยจะดำเนินการร่วมกับหน่วยงาน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถถ่ายทอดสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)และเฝ้าระวังในการดูแลป้องกัน ประชาชนในหมู่บ้านและตำบลต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน ประชาชนในพื้นที่ จากโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ๒.เพื่อให้ผู้ที่สงสัยว่าป่วยด้วยไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ได้รับการเฝ้าระวัง ส่งต่อทุกราย

-ประชาชนในพื้นที่ มีความรู้ เฝ้าระวัง ป้องกันตนเองจากโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)  ร้อยละ ๑๐๐

-ผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)  ได้รับการส่งต่อ รพ.ตรัง ร้อยละ ๑๐๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ ๑ ขั้นเตรียมการ ๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ ๒. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน ๓. จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานเฝ้าระวังการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019    ในเขตรับผิดชอบ ๔. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการระบาดของ    ไวรัสโคโรน่า 2019 เช่น อบต. ผู้นำท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย
๕. ประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวัง คัดกรองการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019
ผ่านเสียงตามสาย วิทยุชุมชน ฯลฯ ๖. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการเฝ้าระวังคัดกรองการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ให้เพียงพอในการดำเนินงาน ขั้นที่๒ขั้นดำเนินการ ๑. แต่งตั้งทีมสุขภาพออกให้บริการเฝ้าระวังตรวจคัดกรองความเสี่ยงโดยให้ อสม. มีส่วนร่วม ๒. ประชุม อสม. ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถถ่ายทอดสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) และเฝ้าระวังในการดูแลป้องกัน ประชาชนในหมู่บ้าน ๓. ปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติงานฯ โดยให้ อสม. เฝ้าระวังในการดูแล ป้องกัน ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน
๔. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม. ประเมินภาวะเสี่ยงโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) พร้อมแนะนำ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ ป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)

ขั้นที่ ๓ สรุปวิเคราะห์และประเมินผล ๑. สรุปผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคภาวะเสี่ยงโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) แยกรายหมู่บ้าน และคืนข้อมูลการกลับไปยัง หมู่บ้าน/ชุมชน อสม. อบต. ทราบสถานการณ์ของโรค เพื่อให้ได้มีส่วนร่วมในการติดตาม แนะนำการดูแลตนเอง เฝ้าระวัง ป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง
๒. รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ทีมคณะกรรมการได้กระจายข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด19 พร้อม อสม.ในพื้นที่ให้กับประชาชนเพิ่มขึ้นและได้       ป้องกันโรคโควิด19     ๒.ประชาชนได้เฝ้าระวังดูแลป้องกันด้วยตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2564 14:21 น.