กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอกใหม่ ในเขตเทศบาลนครยะลา (ประเภทที่ 5)
รหัสโครงการ 64 – L7452 – 5 – 4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 1,340,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภาภรณ์ บุญพงษ์มณี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ ประเทศเพื่อนบ้านที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านช่องทางในจังหวัดชายแดน โดยไม่ผ่านกระบวนการคัดกรองโรค ตามมาตรการที่สาธารณสุขกำหนด และเดินทางต่อไปยังจังหวัดต่าง ๆ นำสู่การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID -19) ในบางพื้นที่ของประเทศ และเป็นเหตุให้พื้นที่ทุกจังหวัดมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบกับนายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 8) และให้ข้อกำหนดประกาศ คำสั่งที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังมีผลใช้บังคับต่อไปนั้น       จากสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ วันที่ 21 มกราคม 2564 ผู้ป่วยสะสม 12,653 ราย รายใหม่ 59 ราย เสียชีวิต 71 ราย ส่วนในจังหวัดยะลามีผู้ป่วยสะสม 133 ราย เสียชีวิต 2 ราย และผู้ป่วยที่เดินทางจากต่างประเทศ (มาเลเซีย) ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมในศูนย์สังเกตอาการ (LQ) ในจังหวัดยะลา จำนวนทั้งหมด 18 ราย พบการติดเชื้อจำนวน 5 ราย คือ อำเภอเบตง จำนวน 3 ราย อำเภอรามัน จำนวน 2 ราย
      ดังนั้น กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา จึงได้จัดทำ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอกใหม่ เขตเทศบาลนครยะลา และอาศัยตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2496 มาตราที่ 50 ข้อที่ 4 (ป้องกันและระงับโรคติดต่อ) ในการค้นหาเชิงรุกแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่จังหวัดยะลา เช่น แรงงานต่างด้าว กลุ่มพนักงานขนส่งสินค้า กลุ่มพนักงานสถานบริการ กลุ่มพ่อค้า - แม่ค้าขายล็อตเตอร์รี่ และกลุ่มประชาชนที่มาจากจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุด เป็นต้น เพื่อลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ ครอบครัว ชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง เป็นการตอบโต้ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง ในเขตเทศบาลนครยะลาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อการคัดกรอง ค้นหา เชิงรุก ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา
  1. ร้อยละ 100 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)
  2. ร้อยละ 80 ประชาชนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 5000 1,340,000.00 0 0.00
29 ม.ค. 64 กิจกรรมที่ 1 คัดกรอง ค้นหา เชิงรุก ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงหรือผู้เดินทางเข้า-ออกพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา 5,000 1,340,000.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ระยะเตรียมความพร้อม     1. ศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่     2. เขียนโครงการ และเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลา     3. ดำเนินการเตรียมงานและประสานงานส่วนการงานที่เกี่ยวข้อง
    4. จัดเตรียม วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ในการตรวจคัดกรองโควิดไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
    5. คัดกรอง ค้นหา เชิงรุก ในพื้นที่เสี่ยงเขตเทศบาลนครยะลา
ระยะดำเนินการ 1. ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง เช่น แรงงานต่างด้าว กลุ่มพนักงานขนส่งสินค้า กลุ่มพนักงานสถานบริการ กลุ่ม
พ่อค้า - แม่ค้าขายล็อตเตอร์รี่ และกลุ่มประชาชนที่มาจากจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุด เป็นต้น
2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการปฏิบัติงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยง 3. เตรียมแผนปฏิบัติงานในการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง เชิงรุก ระยะประเมินและติดตามผล     1. การประเมินผลและติดตามผลการดำเนินงาน     2. สรุปผลการดำเนินงานโครงการเสนอผู้บังคับบัญชา     3. นำเสนอผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในกลุ่มเสี่ยง เช่น แรงงานต่างด้าว กลุ่มพนักงานขนส่งสินค้า กลุ่มพนักงานสถานบริการ กลุ่ม    พ่อค้า - แม่ค้าขายล็อตเตอร์รี่ และกลุ่มประชาชนที่มาจากจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุด ได้รับการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัส  โคโรนา 2019 (COVID – 19)   2. ลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในเขตเทศบาลนครยะลา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2564 14:43 น.