กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเฝ้าระวังโรคและป้องกันภาวะเสี่ยงสำหรับผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล สิ่งโสโครกและเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคและป้องกันภาวะเสี่ยงสำหรับผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล สิ่งโสโครกและเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมี
รหัสโครงการ 60-L3013-01-42
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 5 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กรกฎาคม 2560 - 21 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,960.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์การีนา
พื้นที่ดำเนินการ องค์การบริหารส่วนตำบลบานา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.866,101.289place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 53 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลบานามีประชากร ณ เดือน กรกฎาคม 2559 จำนวน 20,396 คน ประชากรแฝง ประมาณ 15,000 คน รวมทั้งหมด 35,396คน ส่งผลให้มีปริมาณขยะมูลฝอย ประมาณ 35 ตันต่อวัน องค์การบริหารส่วนตำบลบานา มีภารกิจด้านการรักษาความสะอาด การเก็บขนและรวบรวมขยะมูลฝอย แล้วส่งไปกำจัดยังบ่อฝังกลบขยะมูลฝอยตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี นอกจากภารกิจด้านการรักษาความสะอาดในพื้นที่แล้วมีภารกิจดูดสิ่งปฏิกูล สิ่งโสโครก ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง และงานซ่อมบำรุงการปฏิบัติงานดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม อันเป็นผลมาจากเชื้อโรคต่างๆ ที่เกิดจากขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล สิ่งโสโครก และสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของสารกำจัดยุง สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย เสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ และพนักงานส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ ทำให้เกิดโรคและอาการเจ็บป่วยอยู่เสมอ ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยและประสิทธิภาพการทำงาน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดโครงการเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน และตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน

 

2 2. เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงและเฝ้าระวังป้องกันโรคสำหรับผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล สิ่งโสโครกและเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมี

 

3 3. เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพของพนักงาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงและเฝ้าระวังป้องกันโรคสำหรับผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล สิ่งโสโครกและเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมี

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3. เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพของพนักงาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ขั้นเตรียมการ
    • จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
    • ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    • ประชาสัมพันธ์โครงการ
    1. ขั้นดำเนินการ
    • จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน
    • กิจกรรมตรวจสุขภาพโดยทีมแพทย์จากโรงพยาบาลปัตตานี
    1. ขั้นประเมินผล
    • รายงานผลการดำเนินงาน
    • สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน
    1. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเฝ้าระวังความเสี่ยงจากการทำงาน
    2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 10:00 น.