กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดพฤติกรรม เปลี่ยนวิถี พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 64-L3329-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรวรรณ คำคง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกินการดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้องและการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่ จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี2563 เป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไปคัดกรองเบาหวาน จำนวน 502 คน คัดกรองได้ 480 คน คิดเป็นร้อยละ 95.62 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 15.21 ผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 2.26 เป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไปคัดกรองความดันโลหิตสูง จำนวน 409 คน คัดกรองได้ 389 คน คิดเป็นร้อยละ 95.11 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 24.68 ผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3.51 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม  มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการลดพฤติกรรม เปลี่ยนวิถี พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงปีงบประมาณ 2564 ขึ้น โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือ และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อของบจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลควนเสาธง
  2. คัดกรองกลุ่มเสี่ยงเบาหวานโดยการทำ OGTT 1 ครั้ง
  3. วิเคราะห์ปัญหา / พฤติกรรมสุขภาพ / สื่อสารความเสี่ยงจำนวน 3 ครั้ง
  4. ทำ SMBG / SMBP ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ส่งต่อในรายที่สงสัยป่วย
  5. เจาะDTX วัดความดันโลหิตทุก 3 เดือน x 3 ครั้งพร้อมทั้งจุดกราฟเส้นสีชี้ชะตาชีวิต
  6. ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตามหลัก 3อ. 2 ส. จำนวน 2 ครั้ง
  7. สอนการออกกำลังกาย / สาธิตอาหาร 1 ครั้ง
  8. เยี่ยมบ้าน ย่องครัวดูพฤติกรรมการบริโภคอาหารรายบุคคล ให้คำปรึกษารายบุคคลที่บ้าน
  9. ติดตามประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม 2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 50 3. กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการส่งต่อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 10:47 น.