กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก


“ โครงการประชาชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออกเทศบาลตำบลปริก ปี 2560 ”

ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
กลุ่มประธานอาสาสมัครสาธารณสุข ( อสม.)เทศบาลตำบลปริก

ชื่อโครงการ โครงการประชาชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออกเทศบาลตำบลปริก ปี 2560

ที่อยู่ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 60-L7889-2-04 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2560 ถึง 31 สิงหาคม 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการประชาชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออกเทศบาลตำบลปริก ปี 2560 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการประชาชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออกเทศบาลตำบลปริก ปี 2560



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการประชาชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออกเทศบาลตำบลปริก ปี 2560 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 60-L7889-2-04 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2560 - 31 สิงหาคม 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 16,612.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะในประเทศไทยที่เป็นเขตร้อนชื้น จะพบยุงลาย (Aedes aegypti) อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นจำนวนมาก
เดิมทีระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5 – 9 ปี แต่ในปัจจุบันสามารถพบ ได้ทุกกลุ่มอายุทางกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกมาตลอดจนปัจจุบัน ในตัวชี้วัดการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ลดอัตราป่วยอย่างน้อยร้อยละ 20 โดยเทียบจากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ซึ่งปัจจุบันพบว่า ปัญหาไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศเรื่อยมา
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกระดับประเทศ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 63,931 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 97.71 ต่อแสนประชากร พบผู้เสียชีวิต 64 รายคิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.01 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559) จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 5,515 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 392.27 ต่อแสนประชากร พบผู้เสียชีวิต 11 รายคิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.20 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559) และ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2560 จังหวัดสงขลา พบมีอัตราป่วยสะสมของโรคไข้เลือดออก 135.81 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงที่สุด เป็นอันดับ 1 ของประเทศ จากการสำรวจกลุ่มผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกพบว่า ส่วนใหญ่จะระบาดในกลุ่มนักเรียน-นักศึกษา ร้อยละ 55.22 ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 5 – 19 ปี (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม – 30 เมษายน 2560) ในส่วนของอำสะเดาพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 307 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 249.39 ต่อแสนประชากร พบผู้เสียชีวิต 1 รายคิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.01 (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม – 8 พฤษภาคม 2560) และในปีงบประมาณ 2559 ตำบลปริกพบผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด จำนวน 127 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,240.63 ต่อแสนประชากร (ประชากรกลางปี 10,161 คน) ยังไม่พบผู้เสียชีวิต เป็นผู้ป่วยของพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก 60 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,181.10 ต่อแสนประชากร (ประชากรกลางปี 5,080 คน) และในพื้นที่เขตเทศบาลตำปริก พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 67 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,318.89 ต่อแสนประชากร (ประชากรกลางปี 5,080 คน) จากการประเมินติดตามระดับความเสี่ยงของการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลปริก (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2560) พบเป็นพื้นที่เสี่ยงสีแดง หรือเสียงสูง เนื่องจากมีค่าดัชนี House Index (HI) หรือค่าเฉลี่ยจำนวนบ้านที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลายได้ร้อยละ 11.9 ซึ่งเกินค่าดัชนี House Index (HI) มาตรฐาน ≥ 10 (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค) และค่าดัชนี Coutainer Index (CI) หรือ ค่าเฉลี่ยของภาชนะที่พบลูกน้ำในสถานที่ราชากร วัดหรือมัสยิด และอื่นๆ ร้อยละ 9.37 เกินค่าดัชนี Coutainer Index (CI) มาตรฐาน CI › 0 (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค) ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวทำให้พื้นที่ตำบลปริก พื้นที่อำสะเดา และจังหวัดสงขลา มีอัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกที่สูงเกินเป้าหมายของอัตราป่วยที่กำหนดไว้ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร เกิดความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการป่วยและอัตราการตายของประชากร ทำให้จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกยังคงมีอัตราการป่วยที่สูงลอยตัว ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออกไม่ให้มีการระบาดเพิ่มขึ้นกลุ่มประธานอาสาสมัครสาธารณสุข ( อสม.) ในเขตเทศบาลปริก จึงได้จัดทำโครงการประชาชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออกเทศบาลตำบลปริก ปี 2560 ขึ้นมา เพื่อเน้นให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก รวมทั้งสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำในชุมชน เกิดการประสานงานกับทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่ชุมชนอันเข้มแข็งในด้านสุขภาพ และมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  2. 2 เพื่อให้กลุ่มแกนนำด้านสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. 3 เพื่อให้กลุ่มแกนนำด้านสุขภาพสามารถสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของลูกน้ำยุงลายและมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
  4. 4 เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 161
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1 สามารถพัฒนาแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

    2 สามารถควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้านได้ครอบคลุม ร้อยละ 90

    3 สามารถลดอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกได้

    4 ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีความตระหนักและสามารถควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์

    วันที่ 1 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์

     

    161 0

    2. ถ่ายเอกสารใบสอบสวนโรค

    วันที่ 1 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เอกสารใบสอบสวนโรค

     

    77 84

    3. ธงสัญลักษณ์

    วันที่ 5 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ธงสัญลักษณ์

     

    20 0

    4. วัสดุอุปกรณ์

    วันที่ 5 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วัสดุอุปกรณ์

     

    161 84

    5. อุปกรณ์จัดขบวนรณรงค์

    วันที่ 5 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    อุปกรณ์จัดขบวนรณรงค์

     

    161 84

    6. ถ่ายเอกสารใบสำรวจลูกน้ำยุงลาย

    วันที่ 5 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เอกสารใบสำรวจลูกน้ำยุงลาย

     

    161 84

    7. อาหารว่างและเครื่องดื่ม

    วันที่ 23 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    อาหารว่างและเครื่องดื่ม 

     

    77 77

    8. ถ่ายเอกสารแผ่นพับความรู้

    วันที่ 3 กรกฎาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เอกสารแผ่นพับความรู้

     

    161 84

    9. อาหารว่างและเครื่องดื่ม

    วันที่ 28 กรกฎาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    อาหารว่างและเครื่องดื่ม

     

    161 84

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

              จากผลการดำเนินโครงการประชาชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออกเทศบาลตำบลปริก ปีงบประมาณ 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตรผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก  เพื่อให้กลุ่มแกนนำสุขภาพมีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อให้แกนนำสุขภาพสามารถสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในชุมชน  โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการตั้งแต่ เดือน มิถุนายน ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2560

              ซึ่งมีกิจกรรมอบรมครึ่งวัน (ช่วงเช้า) วันที่ 13 เดือน กันยายน พ.ศ. 2560 มีผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ จำนวน 77 คนจากการทดสอบแบบทดสอบวัดความรู้ที่มีคะแนนเต็ม 20 คะแนน พบว่า มีความรู้ก่อนการอบรมคะแนนเฉลี่ย 16.10 (ร้อยละ 80.52) หลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 18.99 (ร้อยละ 94.94) ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.89 (ร้อยละ 14.42)

              ส่วนกิจกรรมการเดินขบวนรณรงค์ไข้เลือดออก (Big Cleaning day) ครึ่งวัน (ช่วงบ่าย) วันที่ 26 เดือน กันยายน      พ.ศ. 2560 มีผู้เข้าร่วมเดินขบวนรณรงค์ไข้เลือดออก จำนวน 120 คน หรือร้อยละ 74.53 โดยเครือข่ายชุมชนร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายใส่ทรายอะเบท 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 50 ลิตร ทุกวันศุกร์ และใช้มาตราการทางสังคม ควบคุมผู้ป่วยไข้เลือดออก โดยเมื่อพบผู้ป่วยในพื้นที่ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ภายใน 1 วัน พร้อมเจ้าหน้าที่ลงสอบสวนโรค และปักธงสัญลักษณ์ในระยะ 50 เมตร เพื่อระบุผู้ป่วย

              จากการดำเนินกิจกรรมโครงการ 3 เดือนที่ผ่านมา พบจำนวนผู้ป่วย 12 ราย มีอัตราป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ 184.61 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ในระดับสูงไม่มาก

              จากผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายรายสัปดาห์จาก 3 เดือนที่ผ่านมา มีค่าดัชนีย์ลูกน้ำยุงลายที่สำรวจพบในหมู่บ้าน (HI) 8.62 ที่ระดับความเสี่ยงต่ำ (ค่า HI < 10) ส่วนค่าดัชนีย์ลูกน้ำยุงลายที่สำรวจพบในอาคารและสถานที่ (CI) 7.4 ที่ระดับความเสี่ยงสูง (ค่า CI < 5-9) ถ้าค่า HI ต่ำ และ CI สูง ดังนั้น ชุมชนนี้ต้องมีปัญหาเป็นบางจุดของชุมชน จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขเฉพาะจุดใด

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1 ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง๕ปีที่ผ่านมา

     

    2 2 เพื่อให้กลุ่มแกนนำด้านสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
    ตัวชี้วัด : 2 แกนนำด้านสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกร้อยละ 70

     

    3 3 เพื่อให้กลุ่มแกนนำด้านสุขภาพสามารถสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของลูกน้ำยุงลายและมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
    ตัวชี้วัด : 3 กลุ่มแกนนำด้านสุขภาพมีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของลูกน้ำยุงลายและดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

     

    4 4 เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในชุมชน
    ตัวชี้วัด : สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในชุมชนร้อยละ100

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 161
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 161
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน (2) 2 เพื่อให้กลุ่มแกนนำด้านสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก (3) 3 เพื่อให้กลุ่มแกนนำด้านสุขภาพสามารถสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของลูกน้ำยุงลายและมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (4) 4 เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในชุมชน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการประชาชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออกเทศบาลตำบลปริก ปี 2560 จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 60-L7889-2-04

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( กลุ่มประธานอาสาสมัครสาธารณสุข ( อสม.)เทศบาลตำบลปริก )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด