กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการ
รหัสโครงการ 64 - L2985 – 02 - 04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านนาค้อใต้
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 59,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรสา รักเถาว์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.738,101.119place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 พ.ค. 2564 30 ก.ย. 2565 59,700.00
รวมงบประมาณ 59,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 31 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 41 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ ถ้าอาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก  โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ถูกหลัก
นักเรียนโรงเรียนบ้านนาค้อใต้ จำนวน 105 คน จากการสำรวจภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี พบว่า นักเรียนมีภาวะขาดสารอาหาร (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) จำนวน 31 คิดเป็นร้อยละ29.52 นักเรียนที่บริโภคผักและผลไม้ วันละ 400 กรัม จำนวน 105คน คิดเป็นร้อยละ 100 สาเหตุเกิดจากผู้ปกครองต้องออกจากบ้านไปประกอบอาชีพตอนกลางคืนและกลับถึงบ้านช่วงเวลา 09.00 น. ทำให้ไม่สามารถประกอบอาหารมื้อเช้าให้ลูกรับประทานก่อนไปโรงเรียนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนส่วนใหญ่จะซื้อขนมขบเคี้ยวที่มีผงชูรสมารับประทาน บางคนก็ไม่ได้ทานอาหารเช้าเลยซึ่งทำให้นักเรียนได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น โรงเรียนบ้านนาค้อใต้ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีภาวะโภชนาการดี มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัยไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้พื้นฐานเรื่องโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ผู้ปกครองและครูมีความรู้เรื่องโภชนาการเพิ่มขึ้น ร้อยละ100

100.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

อัตราเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ลดลงร้อยละ100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 103 59,700.00 2 59,700.00
16 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรม การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพแก่นักเรียน ผู้ปกครอง และครู 72 11,200.00 11,200.00
16 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการนักเรียน 31 48,500.00 48,500.00
  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประสานงาน วิทยากรผู้ให้ความรู้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ บุคลากรกรและสถานที่
  4. ดำเนินงานตามโครงการที่กำหนด
  5. สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรที่พบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กวัยเรียน ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะขาดสารอาหารได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ
  2. เด็กวัยเรียน มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
  3. ผู้ปกครอง และครู มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็กวัยเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 11:43 น.