กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
รหัสโครงการ 64-L3044-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 พฤษภาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,156.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนัสรียา สะอุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงจึงงา อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม
2.25
2 ร้อยละประชาชนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก
1.12

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทย พบมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 8,200 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม
อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยพบรายใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 6,000 คนทั่วประเทศ
การทำการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกอย่างต่อเนื่องจะสามารถควบคุมการดำเนินของโรคได้ ซึ่งการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองจะสามารถค้นหา ความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว ส่วนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smear มีผลการศึกษาวิจัยทั่วโลกว่าสามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าร้อยละ 80
ถ้าทำได้อย่างมีคุณภาพและมีความครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายทั้งหมดได้สูงจากผลการศึกษาในหลายประเทศแสดงให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองด้วยการทำ Pap Smear ให้ครอบคลุมกลุ่มสตรีเป้าหมายทั้งหมด มีความสำคัญต่อการลดอัตราการเกิดและตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกมากกว่าความถี่ที่ได้รับการตรวจแต่ไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด
ในอำเภอยะหริ่ง สถานการณ์ การคัดกรอง 1,053 ราย ตรวจพบคนที่ผิดปกติ 8 ราย ตำบลตันหยงจึงงาคัดกรอง 89 ราย ตรวจพบคนที่ผิดปกติ 2 ราย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็ง ให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม มีความตระหนักและเห็นถึงปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น
จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกขึ้นเพื่อลดอัตราการเกิดโรค โดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-60 ปี ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80

20.00 50.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20

20.00 50.00
3 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง

สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง 40%

20.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ก.พ. 64 - 31 ธ.ค. 64 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย 13,456.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 0.00 10,700.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยง และการส่งต่อ 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ30-60ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  2. เพื่อให้สตรี อายุ 35 ปีขึ้นไป มีทักษะในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
  3. มีเครือข่ายเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
  4. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อแพทย์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 00:00 น.