กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ อสม. เรื่องการเฝ้าระวังและการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ๐ – ๕ ปี
รหัสโครงการ 60-L3001-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะจัน
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 มีนาคม 2017 - 30 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2017
งบประมาณ 12,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกัรตีนี ดีเยาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะจัน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.723,101.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 ก.ค. 2017 21 ก.ค. 2017 12,350.00
รวมงบประมาณ 12,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๖ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมดการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ ๐ – ๖ ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคน
จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก ๐ – ๖ ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะจัน เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้ากว่าร้อยละ ๔.๕๑ซึ่งร้อยละ ๓.๔๔ เป็นพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็ก ๐ – ๖ ปี กว่าร้อยละ ๘๐ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ
ข้อมูลเด็กที่มีภาวะเสี่ยงที่จะต้องเฝ้าระวังในเรื่องของพัฒนาการล่าช้าในตำบลเกาะจันปี ๒๕๕๙ เด็กที่มีน้ำหนักต่ำเกณฑ์ น้ำหนักต่ำกว่า ๒๕๐๐ กรัม จำนวน ๙ คนเด็กคลอดก่อนกำหนดจำนวน ๒ คน ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะจัน จึงให้ความสำคัญกับ อสม . เพื่อที่จะเป็นแรงเสริมในการแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ อสม. เรื่องพัฒนาการเด็ก ๐ – ๕ ปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญ การเฝ้าระวังและการกระตุ้นพัฒนาการเด็กแก่อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่

ร้อยละ 50 พัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญ การเฝ้าระวังและการกระตุ้นพัฒนาการเด็กแก่อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่

30.00
2 ๒. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการเฝ้าระวังและกระตุ้นพัฒนาการเด็กในพื้นที่

ร้อยละ 60 อาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการเฝ้าระวังและกระตุ้นพัฒนาการเด็กในพื้นที่

25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดการฝึกอบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะการตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก โดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance & Promotion Manual) ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข โดยวิทยากร กำหนดเนื้อหา ดังนี้ - การเตรียมความพร้อมก่อนการตรวจคัดกรองพัฒนาการ จำนวน ๑ ชั่วโมง - การสร้างสัมพันธภาพกับเด็กเพื่อการคัดกรองพัฒนาการ จำนวน ๑ ชั่วโมง - ขั้นตอนการคัดกรองพัฒนาการ จำนวน ๑ ชั่วโมง - การบันทึกผลการประเมินพัฒนาการ จำนวน ๑ ชั่วโมง

๒. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจัดทำทะเบียนเด็กปฐมวัยในพื้นที่ และแบ่งเด็กปฐมวัยเป็นกลุ่มตามพื้นที่ และมอบหน้าที่การกระตุ้นติดตามให้แก่ อสม.
๓. อสม. ดำเนินการประเมินเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามอายุ และบันทึกในคู่มือเฝ้าระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ทุก ๑ เดือนพร้อมให้คำแนะนำพ่อแม่หรือผู้ปกครองในการฝึกกระตุ้นและสังเกตพัฒนาการเด็ก ๔. หากพบเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้ากระตุ้นพัฒนาการแล้วยังล่าช้า ประสานเจ้าหน้าที่ รพสต.ทราบและแจ้งพ่อแม่หรือผู้ปกครองพาเด็กไปตรวจคัดกรองพัฒนาการกับเจ้าหน้าที่
๕. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กปฐมวัยทุกคน ได้รับการเฝ้าระวังตรวจประเมินพัฒนาการ ๒. เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการตรวจคัดกรองและแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2017 11:27 น.