กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ บูรณาการกิจกรรมสุขภาพในชุมชน พื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง ในเขตเทศบาลนครสงขลา
รหัสโครงการ 64-L7250-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 49,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลักษณา หวัดเพ็ชร ตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นแนวคิดด้านสุขภาพที่มองบุคคลทั้งชีวิตครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ วิญญาณและสังคม ที่มีความเชื่อมโยงเป็นเป็นหนึ่งเดียวกันมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้ หน่วยบริการปฐมภูมิศูนย์บริการสุขภาพชุมชนใจกลางเมือง กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสงขลา เป็นหน่วยงานให้บริการสุขภาพชุมชนครอบคลุม ๔ มิติสุขภาพแบบองค์รวมในพื้นที่ ๖ ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านบน ชุมชนมัสยิดบ้านบน, ชุมชนเมืองเก่า , ชุมชนสานฝัน , ชุมชนสวนหมาก และชุมชนดอนรัก รับผิดชอบประชากรจำนวน ๘,๑๑๙ คน จำนวน ๒,๗๓๕ หลังคาเรือน มีโรงเรียนในความรับผิดชอบ ๒ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนหวังดี และโรงเรียน  วรนารีเฉลิม มีวัดรับผิดชอบจำนวน ๔ วัด คือ วัดโพธิ์ปฐมาวาส วัดดอนแย้ วัดเลียบ วัดยางทอง รวมทั้ง ๑ มัสยิด ในชุมชนมัสยิดบ้านบน จากปัญหาสุขภาพของประชาชนไทยพบว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวนประชากรผู้สูงอายุตลอดจนโรคติดต่อและภัยสุขภาพต่างๆมีแนวโน้มสูงขึ้น และจากข้อมูลปี ๒๕๖๒ของศูนย์บริการสุขภาพชุมชนใจกลางเมือง พบว่าประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปจำนวน ๓,๓๐๑ คน ได้รับคัดกรองสุขภาพจำนวน ๓,๐๘๖ คน คิดเป็น ๙๓.๔๘% พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง จำนวน ๓๗๖ คน คิดเป็น ๑๒.๑๘% มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ทุกปีและมีแนวโน้มสูงขึ้น มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จำนวน ๑,๕๖๙ คน มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ทุกปี มีผู้สูงอายุ จำนวน ๑,๙๖๘ คน มีผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน ๗ คน คิดเป็น ๘๗.๒๖ ต่อแสนประชากร นอกจากนี้จำนวนในกลุ่มสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจำนวนน้อย (ปี ๒๕๖๓ มีจำนวน ๑๕๒ คน จากเป้าหมาย ๑,๒๓๔ คน คิดเป็น ๑๒.๓๑%) จากโครงการพระราชดำริของชุมชน โครงการตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ในชุมชนบ้านบน ชุมชนมัสยิดบ้านบน ชุมชนเมืองเก่าและชุมชนดอนรักปี ๒๕๖๓ จำนวน ๑๖๐ คน พบผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน ๔๕ คน คิดเป็น ๒๘.๑๒% จากข้อมูลนี้ศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการที่จะดูแลส่งเสริมสุขภาพโดยบูรณาการกิจกรรมสุขภาพให้ประชาชนในชุมชนขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน ครอบคลุมทั่วถึง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี

-ร้อยละ๘๐ ของกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังเกิดเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
-ร้อยละ ๘๐ ของสตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ -ร้อยละ ๒๐ ของสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

80.00
2 พัฒนาร้านอาหาร/ร้านชำ

ร้านอาหาร/ร้านชำที่ได้รับการตรวจประเมินผ่านเกณฑ์ GFGT ร้อยละ ๘๐

80.00
3 การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน

-อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ ๑๐ จากค่ามัธยฐาน๕ปีย้อนหลัง -โรงเรียน/ชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ ร้อยละ ๘๕ -อัตราป่วยโรคติดต่อลดลง

85.00
4 พัฒนาสุขภาพสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ

ชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็งในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน
-สมาชิกมีสุขภาพกายและจิตอยู่ในระดับดีมากกว่าร้อยละ ๗๐

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ จิตอาสา แกนนำสุขภาพและผู้เกี่ยวข้อง ตลอดทั้งติดตาม ประเมินผลการดำเนินการ
๒.จัดกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิดเห็นในการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาในชุมชน ๓.จัดกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงสูงเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ ๔.จัดกิจกรรมติดตามตรวจวัดไขมันในเลือดกลุ่มเสียงสูงหลังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
๕.จัดกิจกรรมค้นหาและรณรงค์ให้ความรู้/แลกเปลี่ยนเรียนรู้การตรวจเต้านมด้วยตนเองและการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานบริการและในชุมชน       ๖.จัดกิจกรรมประชุมชมรมผู้สูงอายุทุกวันศุกร์สัปดาห์แรกของเดือน ๗.จัดกิจกรรมประชุมควบคุมป้องกันโรคติดต่อเชิงรุกสู่ชุมชน/โรงเรียน ๘.จัดกิจกรรมประชุมตรวจประเมินร้านอาหาร/ร้านชำ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในเขตรับผิดชอบได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐานแบบองค์รวมและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมสามารถดูแลตนเองและครอบครัวได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 14:00 น.