กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการแก้ไขปัญหาความครอบคลุมวัคซีนไม่ผ่านเกณฑ์
รหัสโครงการ 60-L3001-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะจัน
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 18,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกัรตี นีดีเยาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะจัน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.723,101.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 มิ.ย. 2560 23 มิ.ย. 2560 18,500.00
รวมงบประมาณ 18,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ในจังหวัดปัตตานี มีทั้งโรคหัด โรคคอตีบ โรควัณโรคโรคตับอักเสบ โรคคางทูมตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙มีการระบาดของโรคคอตีบ จำนวน๔๒ ราย ทำให้มีเด็กที่มีอายุระหว่าง ๒ – ๑๒ ปีเสียชีวิต จำนวน๑๐ รายสาเหตุที่เกิดเนื่องจากการระบาดของเชื้อคอตีบ และเด็กเหล่านี้ จากการสอบสวนโรค ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนใดๆเลยอีก ๓๒ ราย มีอาการไม่รุนแรง เพราะได้รับการฉีดวัคซีนบ้าง แต่ได้รับไม่ครบชุด ในส่วนของอำเภอมายอ มีการระบาดของคอตีบ จำนวน ๕ ราย เกิดขึ้นที่ตำบลกระหวะตำบลลุโบะยีไร ตำบลมายอ ตำบลปะโดและตำบลสะกำเสียชีวิด ๒ ราย เป็น เด็กผู้ชายอายุ๔ ปี อยู่ที่บ้านมะหุดตำบลปะโด เรียนที่โรงเรียนโต๊ะฮาดี และ เด็กอายุ ๔ ปี อาศัยอยู่ที่ตำบลสะกำ เมื่อปี ๒๕๕๙ ส่วนในตำบลเกาะจัน ได้มีการระบาดของโรคคอตีบในพื้นที่ ม.๕ บ้านแยระ ตำบลเกาะจัน ๑ ราย ในปี พ.ศ . ๒๕๕๘ส่วนโรคหัดซึ่งเป็นโรคที่ไม่รุนแรงมาก แต่เป็นสาเหตุการตายของเด็กเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยเฉพาะโรคปอดบวม ในพื้นที่ตำบลเกาะจัน ปี ๒๕๕๗มีการระบาดของโรค จำนวน๑๕ ราย ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมายอ จำนวน๒ ราย และได้รับการ ส่งต่อไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลปัตตานี เนื่องจากโรคปอดบวม จำนวน ๑ ราย จากการระบาดของโรคดังกล่าวทำให้ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง X- Ray ทุกพื้นที่ในตำบลเกาะจันใน ค้นหา เด็ก แรกเกิดถึง ๖ ปีเพื่อให้บริการวัคซีนพื้นฐานทุกชนิด ตามเกณฑ์อายุที่กำหนด โดยใช้ภาคีเครือข่าย (อสม) ในพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์ และติดตาม ให้ผู้ปกครองได้เห็นความสำคัญ และนำบุตร หลานมารับการฉีดวัคซีน และเพื่อให้มีความครอบคลุมในการรับวัคซีนให้มากที่สุด สถานการณ์ความครอบคลุมวัคซีนปีงบประมาณ ๒๕๕๙ จำจำนวนเด็ก ๐- ๖ ปี ๔๘๓ คน ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุจำนวน ๑๘๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๑๓และได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ จำนวน๒๙๔คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๘๗ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความครอบคลุมวัคซีนในพื้นที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งตามเกณฑ์ตัวชี้วัด ความครอบคลุมวัคซีนต้องผ่านร้อยละ๙๐ จึงสามารถที่จะควบคุมไม่ให้เกิดโรคที่สามารถป้องได้ด้วยวัคซีน จากการทำงานดังกล่าว เป็นการทำงานที่ค่อนข้างยาก เนืองจากปัจจุบันได้มีกระแสเรื่องวัคซีนในด้านลบเกิดขึ้นอย่างมากมาย ตัวอย่างเช่น ฉีดวัคซีนแล้วเด็กเสียชีวิต , ผลข้างเคียงวัคซีนที่ว่า ฉีดแล้วเด็กเดินไม่ได้ ไข้ ปวดบวม , วัคซีนไม่ฮาลาล ผลิตจากสัตว์ และที่สำคัญชาวบ้านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับวัคซีนไม่มีผลดี มีแต่เสีย จึงต้องมีการสร้างความเข้าใจ สร้างแรงใจ และสร้างกระแสในด้านที่ดีในการฉีดวัคซีนแก่ผู้ปกครอง เนื่องจากการดำเนินงานดังกล่าวต้องใช้งบประมาณ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะจัน จึงได้ทำ โครงการโครงการการแก้ไขปัญหาความครอบคลุมวัคซีนไม่ผ่านเกณฑ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องวัคซีนที่ถูกต้องแก่ผู้ปกครองในพื้นที่

ร้อยละ 60 ของผู้ปกครองในพื้นทีเข้าใจเรื่องวัคซีนที่ถูกต้อง

30.00
2 เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลเกาะจัน รับรู้และมารับบริการฉีดวัคซีนตามกำหนด

ร้อยละ 50 ของประชาชนทราบในการมารับบริการวัคซีนตามกำหนด

35.00
3 เพื่อสร้างความตระหนักและแรงจูงใจให้แก่ผู้ปกครองที่จะนำบุตรหลานมารับบริการฉีดวัคซีน

ร้อยละ 50 ของผู้ปกครองมีความตระหนักและแรงจูงใจมารับบริการฉีดวัคซีน

50.00
4 เพื่อสร้างกระแสสังคมในเรื่องวัคซีน

ร้อยละ 50 สร้างกระแสสังคมในเรื่องวัคซีน

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นดำเนินการ
๑. อบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีน ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก ที่มีบุตร อายุแรกเกิดถึง ๕ ปี จำนวน ๗๕ คน
๒. จัดสานเสวนา ให้ความรู้แก่ ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก ที่มีบุตร อายุแรกเกิดถึง ๕ ปี จำนวน ๗๕ คน เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องวัคซีน
๓. จัดกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนรู้เรื่องวัคซีน
๔. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและเด็ก มารับบริการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์อายุและตามนัด
๕. ออกหน่วยให้บริการฉีดวัคซีนเชิงรุกตามหมู่บ้านโดยแบ่งตามละแวก อสม. ที่รับผิดชอบ ๖. สร้างกระแสโดยการประชาสัมพันธ์เรื่องวัคซีน โดยการใช้ไวนิลติดตามมัสยิดและแหล่งชุมชุมต่างๆภายในหมู่บ้าน
๗. มีการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ เพื่อรับทราบสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องวัคซีน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กระแสเรื่องวัคซีนในชุมชมมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
  2. เด็ก ๐-๕ ปี ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานทุกชนิดครอบคลุมมากขึ้น
  3. ลดอัตราการระบาดของโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 11:55 น.