กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สะอาด ปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า อ.สทิงพระ จ.สงขลา ปี 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สะอาด ปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า อ.สทิงพระ จ.สงขลา ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5238-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 7,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมรัตน์ ขำมาก
พี่เลี้ยงโครงการ นางเพียงขวัญ กาญจนเพ็ญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.603,100.385place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบัน ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างครอบคลุม ความรู้ไม่เท่าทันรวมถึง ความไม่เข้มแข็งในการคุ้มครองตนเองของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย จากสถานการณ์ปัญหาด้าน ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ในด้านต่างๆ เช่น ปัญหาการบริโภคยาชุด ยาสเตียรอยด์ การบริโภคผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารจากการหลงเชื่อโฆษณา การบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อนอันตราย กลยุทธทางด้านการตลาดผู้ผลิตย่อมต้องการกำไรสูงสุด ภายใต้เทคนิคการส่งเสริมการขายที่หลากหลาย มีการลด แลก แจก แถม อวดอ้าง สรรพคุณเกินความเป็นจริง รวมทั้งยังมีการเปิดเผยข้อมูลเพียงบางส่วนที่เป็นด้านดีเท่านั้น ส่วนข้อมูลทาง ด้านลบของ ผลิตภัณฑ์ก็มักจะมีการปกปิดเอาไว้ โดยมิได้คำนึงถึงสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของผู้บริโภค นอกจากนี้ในปัจจุบัน สื่อสารมวลชนเข้ามามีบทบาทอย่างมากในกระบวนการตลาด การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ จะยิ่งส่งเสริมการบริโภคในสังคมอย่างมากหรือที่เรียกกันว่าเกิดลัทธิบริโภคนิยมขึ้นใน สังคม ทำให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการที่จะบริโภคเกินกว่าความต้องการที่แท้จริง ตัวอย่างรูปธรรมที่เกิดขึ้น เช่น การบริโภค อาหารหรือยาอย่างฟุ่มเฟือย จนบางครั้งเกิดโรคภัยไข้เจ็บจากผลิตภัณฑ์ที่ตนบริโภคเข้าไป การเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องและจำเป็น เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพต่างๆ มีการจัดกระบวนการ “เชื่อมโยง” เพื่อให้ภาคีเครือข่าย ตลอด จนประชาชนในชุมชนมีความเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความเสี่ยงให้กับตนเอง ครอบครัว ไป จนถึง “ชุมชน” ในรูปแบบเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในชุมชน อันเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคให้เข้มแข็ง และยังพัฒนาผู้ประกอบการและสถานประกอบการให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ซึ่งสุดท้ายย่อมจะส่งผล ให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
จากผลการการดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคของรพ.สต.นางเหล้า ในปี ๒๕๖3 พบว่า มีการตรวจน้ำแข็งในแผงจำหน่ายน้ำและน้ำแข็ง 8 ร้าน ไม่ผ่าน 2 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 20 ตรวจร้านขายของชำ 16 ร้าน ไม่ผ่านเกณฑ์ 2 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 12.5 และพบมีการจำหน่ายยาชุดและยาอันตราย 5 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 31.25 มีการจำหน่ายเครื่องสำอางที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศห้ามขาย อีก 1 ร้าน ดังนั้นการเฝ้าระวัง ให้ประชาชนได้บริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สะอาด ปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สะอาดปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อน ตำบลนางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2564 ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานอาหารปลอดภัยสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

1.เกิดเครือข่ายคุมครองผู้บริโภคในชุมชน มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 1 เครือข่าย

0.00
2 2.เพื่อให้ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนด

2.ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนด ร้อยละ 80

0.00
3 2.เพื่อให้ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนด

2.ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนด ร้อยละ 80

0.00
4 3. เพื่อให้ร้านชำผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนด

3.ร้านชำได้รับการตรวจเยี่ยมและคำแนะนำ ร้อยละ 80 ของจำนวนร้านชำทั้งหมดในพื้นที่ และ ผ่านเกณฑ์ประเมิน อย่างน้อยร้อยละ 40 ของ จำนวนร้านชำที่ลงเยี่ยม

0.00
5 4. เพื่อให้ตลาด ผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนด

4.ตลาด ผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนด ร้อยละ 50

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมการ 1. จัดทำโครงการ       2. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงาน       3. จัดเตรียมสิ่งสนับสนุนในการดำเนินงานโครงการ
ระยะปฏิบัติการ 1. จัดประชุมชี้แจงบทบาทหน้าที่ และการดำเนินงานแก่เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค       2. จนท.และ ตัวแทนคณะกรรมการเครือข่ายฯตรวจร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารตามข้อกำหนด 15/12 ข้อและตรวจหาโคลิฟอร์มในน้ำ(SI2) ในน้ำแข็ง ภาชนะสัมผัสอาหารและมือ       3. จนท.และ ตัวแทนคณะกรรมการเครือข่ายฯตรวจร้านชำตามข้อกำหนด
      4. จนท.และ ตัวแทนคณะกรรมการเครือข่ายฯตรวจตลาด ตามข้อกำหนด
      5. จนท.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรัง สำรวจการใช้ยา และ สุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ที่ สงสัยอาจปนเปื้อน สเตียรอยด์
6. ให้คำแนะนำ เก็บอาหารสดส่งตรวจหาสารปนเปื้อน 6 ชนิด       7. ส่งเสริมร้าน/แผงจำหน่ายอาหาร ตลาด จัดตั้งจุดล้างมือป้องกัน โควิด 19 แก่ผู้รับบริการ       8. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัยในรูปแบบต่างๆเช่น ให้สุขศึกษารายบุคคล รายกลุ่ม โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น แผ่นไวนิ้ล เอกสาร โป๊สเตอร์ แผ่นพับ หอกระจายข่าว
ระยะประเมินผล       1. ประเมินผลจากการดำเนินงานเทียบกับกลุ่มเป้าหมาย       2. สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ด้านอาหารปลอดภัย และผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถให้คำแนะนำแก่บุคคลในครอบครัว ในการเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์สุขภาพหรืออาหารที่สะอาด ปลอดภัย ได้อย่างถูกต้อง ส่งผลดีต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน ต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 16:00 น.