กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมใจ ลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 64-L8300-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 30 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 กรกฎาคม 2565 - 27 กรกฎาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 26 สิงหาคม 2565
งบประมาณ 12,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะสูยี มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่ที่ลดน้อยลงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่จำนวน11.4ล้านคนอัตราการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 20.7 ต่อประชากรพันคนอยู่ในกลุ่มอายุ 25-59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมากที่สุดร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6และกลุ่มอายุ 15-24 ปีร้อยละ 14.7ตามลำดับเป็นผู้ชายร้อยละ 40.5และผู้หญิงร้อยละ 2.2โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.3 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง 4.2 ล้านคน และทั้งบุหรี่โรงงาน/บุหรี่มวนเอง 1.9 ล้านคนและมีคนไทยได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านร้อยละ 28.1 มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว2-3 แสนคนต่อปีคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คนและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมดผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า ที่สำคัญ 1 ใน 4 เป็นเด็กเล็กที่ตายเพราะได้รับควันบุหรี่มือสองหากการควบคุมการบริโภคยาสูบไม่เข้มแข็งจะมีการตายด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง8 ล้านคนใน20 ปีข้างหน้า ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในระยะเวลา 3 ปี(ปี 2560-2562) จะดำเนินการเพื่อลดอัตราจำนวนประชากรผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จากปัจจุบันร้อยละ 19.9 ให้เหลือร้อยละ 16.7 และลดอัตราการรับควันบุหรี่มือสองให้เหลือร้อยละ
      ชมรมอสม.ตำบลแว้ง เล็งเห็นถึงปัญหาการสูบบุหรี่ซึ่งยังมีอยู่เป็นจำนวนมากสมควรที่จะต้องดำเนินการแก้ไขจึงได้จัดทำโครงการ ร่วมใจ ลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อชีวีมีสุข ขึ้นเนื่องจากบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับต้นของคนไทยที่สามารถป้องกันได้โดยการช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบและป้องกันหรือลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ให้ห่างไกลจากการสูบบุหรี่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ จะได้เกิดความตระหนักถึงโทษภัยของบุหรี่

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความต้องการเลิกสูบบุหรี่ร้อยละ 50 2.ผู้สูบบุหรี่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีการสูบในบ้านลดลงร้อยละ 50 3.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้ร้อยละ60

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมกลุ่มเสี่ยงไม่เป็นผู้สูบหน้าใหม่

1.ลดกลุ่มเสี่ยงที่จะกลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ได้ร้อยละ 50 2.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับบอกต่อไม่ให้มีนักสูบหน้าใหม่ได้ร้อยละ 50 3.สร้างความตระหนักให้นักสูบหน้าใหม่ร้อยละ 50

0.00
3 เพื่อสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมให้เกิดการ ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและผู้อยู่ใกล้เคียง

1.ผู้สูบบุหรี่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบไม่สูบในชุมชนร้อยละ 50 2.ผู้ผ่านการอบรมสามารถประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้คนสูบบุหรี่เลิกสูบได้ร้อยละ 50 3.มีกฎเกณฑ์การงดสูบบุหรี่ในที่ชุมชนร้อยละ 50

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 65
1 อบรมโทษของบุหรี่(27 ก.ค. 2565-27 ก.ค. 2565) 12,100.00  
รวม 12,100.00
1 อบรมโทษของบุหรี่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 12,100.00 1 12,100.00
27 ก.ค. 65 การอบรมโทษของบุหรี่โรคต่างๆที่มีโอกาสเป็น , ควันบุหรี่ทำร้ายคนใกล้ชิดมากกว่าที่คิด , วิธีการลด ละ เลิก บุหรี่ อันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อคนใกล้ชิด มิติด้านศาสนา และผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ถึงโทษของบุหรี่ 80 12,100.00 12,100.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงโทษภัยบุหรี่
  2. ผู้ที่เข้ารับการอบรมกลุ่มเสี่ยงไม่เป็นผู้สูบบุหรี่รายใหม่
  3. ผู้เข้ารับการอบรมมีแรงจูงใจในการ ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และปรับพฤติกรรม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2564 10:41 น.