กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L4147-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ทีม SRRT ตำบลบาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพงศ์ ดอคา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำ ให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมการจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่ และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากร และมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำ การที่มนุษย์สร้างการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศ การเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่ เป็นไปอย่างรวดเร็ว
ชุมชนตำบลบาโงยซิแน และโรงพยาบาลส่งเสริมส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน จึงได้เสนอแนวคิด “การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือด และโรคนำโดยแมลง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน” ขึ้นโดยภาคีเครือข่ายในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการชุมชนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2564

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลง

เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลง

0.00
2 เพื่อให้มีการพัฒนาบ้านสะอาด รอบบ้านน่ามอง ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนสถานที่ราชการ มัสยิดและโรงเรียน
  1. ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนให้ค่า HI ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 10
  2. จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนสถานที่ราชการศูนย์เด็กมัสยิดมีค่าเท่ากับร้อยละ 0 (CI = 0)
0.00
3 เพื่อให้หลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค
  1. ทุกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค
0.00
4 เพื่อให้แกนนำสาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้

ร้อยละ 70 แกนนำสาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 100,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ฝึกอบรมให้ความแก่แกนนำประชาชน นักเรียน อสม. 0 23,600.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ 0 9,000.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและกำจัดตัวเต็มวัย 0 34,900.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุ และตัวเต็มวัย บ้านผู้ป่วย และบ้านสงสัยป่วย 0 32,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลง
2.ประชาชน นักเรียน อสม. มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุม และป้องกันโรค จนสามารถดำเนินการควบคุม และป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงได้เองอย่างต่อเนื่อง
3.สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2564 00:00 น.