กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีไทยต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเชิงรุก ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L5188-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลเกาะสะบ้า
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,432.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรสา ชูศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.863,100.891place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขมีความทันสมัย อีกทั้งยังเกิดจากนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัย ตลอดจนการเข้าถึงบริการของประชาชนที่เสมอภาคและเท่าเทียมกันของโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้สถานภาพด้านสุขภาพและแบบแผนพฤติกรรมการเจ็บป่วยของประชาชนเปลี่ยนไป การเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อโรคมีแนวโน้มลดลง แต่การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่ออันเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมสุขภาพ เช่น โรคมะเร็งหัวใจเบาหวานความดัน มีอัตราการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้นและมีสาเหตุการตายในระดับต้นๆของประเทศ โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมกลุ่มเสี่ยงพบว่าอยู่ในสตรีที่มีอายุ๓๐ ปีขึ้นไป และโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายในอันดับแรกของสตรีในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและ ในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smearในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ๓๐-๖๐ ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้จากปัญหาดังกล่าวหากได้มีการตรวจค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นเพื่อให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีการปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง จะช่วยลดภาวะของโรคและการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคอื่นๆที่จะตามมาได้เป็นอย่างมาก
จากการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานตามมาตรฐาน ของกระทรวงสาธารณสุข มีตัวชี้วัดโดยสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ต้องได้รับการตรวจPapSmearเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ต่อปี ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว เป้าหมายทั้งหมด ๗05 ราย โดยในปี ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ มีสตรีเข้ารับการตรวจคัดกรอง ๒๘๒ คนคิดเป็นร้อยละ ๔๐พบว่าผลการตรวจปกติร้อยละ ๙๙.๖๕ พบความผิดปกติ ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๓๕ เป็นผลที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง ดังนั้นในปี ๒๕๖๐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้าจึงได้ทำโครงการสตรีไทยต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพื่อให้มีการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมอย่างต่อเนื่องและให้ อสม.ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานและเป็นการทำงานเชิงรุกในหมู่บ้านอันจะส่งผลดีต่อภาวะสุขภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม.ได้มีความรู้ สำหรับการลงพื้นที่ตรวจคัดกรองมะเร้งเต้านม กับกลุ่มเป้าหมาย

 

2 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมและที่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแล้วพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา

 

3 เพื่อกระตุ้นการดำเนินงานเชิงรุกในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22.00 1 22,432.00
19 ก.ย. 60 สตรีไทยต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเชิงรุก 0 22.00 22,432.00

ขั้นเตรียมการ ๑. สำรวจจัดทำทะเบียนเพื่อรวบรวมข้อมูลสตรีกลุ่มเป้าหมายอยู่จริงในพื้นที่เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ๒. ประชุมชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่รพ.สต. และอาสาสมัครสาธารณสุขเกี่ยวกับข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ๓. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ ๔. เตรียมจัดหาวัสดุ – อุปกรณ์กำหนดแผนการตรวจและประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในการ ตรวจPapSmear ๕. ชี้แจงโครงการและแผนการดำเนินงานแก่ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ ขั้นดำเนินการ ๑.ประสานงานกับผู้นำชุมชนอสม.เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ ประชาสัมพันธ์และการดำเนินโครงการร่วมกัน
๒.อบรม ให้มีความรู้ในการป้องกันโรคและขั้นตอนการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็ง เต้านม ในสตรี กลุ่มเป้าหมาย ๓. ประกาศเสียงตามสายประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปาก มดลูกและมะเร็งเต้านม ๔. ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านติดตามกลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (ใช้
วิธีเคาะประตูบ้าน) นำบัตรเชิญให้มาร่วมตรวจมะเร็งปากมดลูก ๕. จัดรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมายที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เกาะสะบ้า ๖. ให้สุขศึกษารายบุคคลเกี่ยวกับความรู้เรื่องการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม แก่สตรี กลุ่มเป้าหมายในวันที่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๗.ดำเนินการติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ตรวจในครั้งแรกเพื่อนัดติดตามมาตรวจครั้งต่อใหม่และติดตามผู้ที่ไป ตรวจจากสถานพยาบาลอื่น ๘. ติดตามผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกและส่งต่อในกรณีพบผลผิดปกติทุกรายเพื่อให้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ขั้นประเมินผล ๑. ติดตามประเมินผลโครงการจากรายงานผลการตรวจมะเร็งปากมดลูก ๒. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อสม.มีความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
2.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และสตรีกลุ่มเป้าหมายรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแล้วพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง 3.ประชาชานได้รับบริการจากการทำงานเชิงรุก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 15:20 น.