กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชน-คนโคกม่วงป้องกันโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 65,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุชา ตันปิติกร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 65,600.00
รวมงบประมาณ 65,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากเป็นลำดับต้นๆ คือ ปัญหาโรคไม่ติดต่อ และโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งนับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation : IDF) ได้ประมาณการว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 382 ล้านคนทั่วโลก และในปี 2578 จะมีผู้ที่ป่วยถึง 592 ล้านคนหรือ ใน 10 คนจะพบผู้ป่วยเบาหวาน 1 คน และในปัจจุบันพบว่าประชากรมากกว่า 316 ล้านคนมีความเสี่ยงสูงที่จะพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกได้ประมาณไว้ว่าจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั่วโลก จาก 194 ประเทศ มีจำนวนถึง 970 ล้านคน โดย 330 ล้านคนอยู่ในประเทศพัฒนา และ 640 ล้านคนอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และในปี 2568 คาดว่าจะมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเป็น 1.56 พันล้านคน นอกจากนี้ ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากความดันโลหิตสูง สำหรับในประเทศไทยมียอดผู้ป่วยเบาหวานสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 จำนวน 1,799,977 ราย ความชุก 2,800.80 ต่อประชากรแสนคน และระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 มีผู้ป่วยเบาหวาน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 336,265 ราย อุบัติการณ์ 523.24 ต่อประชากรแสนคนโดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง ปี พ.ศ. 2551 – 2555 สำหรับโรคความดันโลหิตสูงนั้นพบว่า ในปี 2555 มีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุความดันโลหิตสูง จำนวน 3,684 ราย สถานการณ์ป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขด้วยโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกภาค เมื่อเปรียบเทียบจากปี 2544 และปี 2555 พบว่าอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน จะมีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มจาก 156,442 ราย เป็น 1,009,385 ราย ซึ่งถือว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า นอกจากนี้ผู้ป่วยทั้ง 2 โรคนี้ เมื่อป่วยไประยะหนึ่งแล้วมักจะเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต หัวใจ ระบบประสาท แผลเรื้อรัง ในผู้ป่วยเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง ไต หัวใจ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอีกด้วย
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วงพบว่า ในปีงบประมาณ 2563 คัดกรองโรคเบาหวานได้ร้อยละ 91.00 พบเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 13.15 พบกลุ่มสงสัยป่วยร้อยละ 1.46 และคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ 89.60 พบเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 12.69 พบกลุ่มสงสัยป่วยร้อยละ 9.31 ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเกิดจากการรณรงค์โดยใช้กลวิธีที่หลากหลายติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มเสี่ยงที่เข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังไม่ครอบคลุม และมีความยากลำบากในการนำกลุ่มเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งอาจเกิดจากขาดความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักต่อความเสี่ยงที่จะกลายเป็นกลุ่มป่วยในอนาคต ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง จึงได้จัดทำโครงการชุมชน-คนโคกม่วงป้องกันโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปในตำบลโคกม่วง ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90

90.00
2 เพื่อให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยงได้เข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง
  1. กลุ่มเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 70
    1. กลุ่มเสี่ยงที่เข้ากระบวนการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสามารถลดภาวะเสี่ยงได้ ร้อยละ 50
0.00
3 เพื่อให้การวินิจฉัยผู้ป่วยรายใหม่เป็นไปอย่างครอบคลุม และได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละการตรวจติดตามกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 60

0.00
4 เพื่อพัฒนาคลินิกเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง รวมทั้งปรับปรุงแนวทางในการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้มีคุณภาพมาตรฐานครบถ้วนตามแนวทางเวชปฏิบัติ
  1. กลุ่มป่วยได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางเวชปฏิบัติ ร้อยละ 100
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาล(HbA1c) มากกว่า Base Line ปี 2563 (20.31) ร้อยละ 3 เท่ากับ 20.62
  3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับควบคุมระดับความดันโลหิต(ติดต่อกัน 2 ครั้ง) มากกว่า Base Line ปี 2563 (27.64) ร้อยละ 3 เท่ากับ 28.47
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1170 65,600.00 0 0.00
2 ก.พ. 64 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูวิชาการให้แก่ อสม.ปีละ 1 ครั้ง 80 0.00 -
1 มี.ค. 64 กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มี เจ้าหน้าที่ อสม.เป็นผู้นำในการคัดกรอง โดยความร่วมมือของผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่าย 500 50,600.00 -
1 ส.ค. 64 3. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3.1 จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดย จัดค่ายรู้เท่าทันความดันฯ-เบาหวาน เน้นการใช้แนวทาง 3 อ. 2ส. โดยมีการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยมามีส่วนร่วมในการลดระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิต 3.2 ติดตามกลุ่มเสี่ยงตามระยะเวลา 90 15,000.00 -
1 ก.ย. 64 4. กิจกรรมจัดบริการผู้ป่วยในคลินิกเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน 4.1 ให้บริการตรวจรักษาโรคโดยแพทย์ และทีมสหวิชาชีพ โดยใช้แนวทางเวชปฏิบัติ 4.2 ติดตามความครอบคลุมในการดูแลกลุ่มป่วยในคลินิกของรพ.สต. 4.3 ติดตามผู้ป่วยที่รับการรักษาไม่สม่ำเสมอในชุมชน 4.4 500 0.00 -

ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาในการรับบริการที่คลินิก เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา
๒. ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
๓. ประชาสัมพันธ์โครงการ ๔. ติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง จัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ แบบฟอร์ม เอกสารที่จำเป็น ขั้นดำเนินการ 1) กิจกรรมอบรมฟื้นฟูวิชาการ ๑.๑ อบรมฟื้นฟูวิชาการให้แก่ อสม. ปีละ ๑ ครั้ง 2) กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2.1 ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง และภาวะอ้วนลงพุง ในกลุ่ม ประชาชนอายุ 3๕ ปีขึ้นไปในตำบลโคกม่วง ให้ อสม.เป็นผู้นำการคัดกรอง โดยความร่วมมือของ ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่ายอื่นๆ 2.2 ให้คำแนะนำในการป้องกันโรค กลุ่มเสี่ยงเข้ากระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ณ จุดคัดกรอง โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. พร้อมทั้งบันทึกผลการคัดกรอง แยกกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงสูง 2.3 กลุ่มสงสัยว่าป่วยเป็นโรค มีการนัดตรวจซ้ำ โดยใช้ FPG
3) กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
3.1 กำหนดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง เป็น 3 โปรแกรมหลัก คือ 3.1.1  กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ณ วันคัดกรองซึ่งเป็นการออกให้บริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแนวทาง 3อ. 2 ส. ในชุมชน ในวันคัดกรอง โดยมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เป็น ผู้ดำเนินกิจกรรม 3.1.2  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน คลินิก DPAC 3.1.3  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม “ค่ายรู้เท่าทันความดันฯ-เบาหวาน”
3.2 จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดย จัดค่ายรู้เท่าทันความดันฯ-เบาหวาน เน้นการใช้แนวทาง 3อ.2ส. โดยมีการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยมามีส่วนร่วมในการลดระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิต 3.3 ติดตามกลุ่มเสี่ยงตามระยะเวลาที่กำหนด โดย กลุ่มเสี่ยงสูงติดตามทุก 1 เดือน กลุ่มเสี่ยงทั่วไปติดตาม 3 เดือน 6 เดือน 4) กิจกรรมบริการคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
4.1 คลินิก DPAC ในกลุ่มเสี่ยง - นัดกลุ่มเสี่ยงเข้ารับบริการในคลินิก DPAC
- ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับบริการในคลินิกจนกว่าจะสามารถลดเสี่ยงได้
4.2 คลินิก DPAC ในกลุ่มป่วย - ให้บริการคลินิก DPAC ในกลุ่มป่วยทุกวันที่ให้บริการคลินิกโรคเรื้อรัง - ติดตามกลุ่มเป้าหมายทุกครั้งที่มารับบริการ 5) กิจกรรมจัดบริการผู้ป่วยในคลินิกเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
5.1 ให้บริการตรวจรักษาโรคโดยแพทย์ และทีมสหวิชาชีพ โดยใช้แนวทางเวชปฏิบัติ
5.2 ติดตามความครอบคลุมในการดูแลกลุ่มป่วยในคลินิกของรพ.สต.โคกม่วง 5.3 ติดตามผู้ป่วยที่รับการรักษาไม่สม่ำเสมอในชุมชน 5.4 พัฒนาคลินิกโรคเรื้อรังตามเกณฑ์ คลินิก NCD คุณภาพระดับ รพ.สต. 5.5 ตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรัง และคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาใน รพ.สต. และ โรงพยาบาลคลองหอยโข่งฯ ทั้งตำบล ขั้นหลังดำเนินการ 1) กำหนดแนวทาง เครื่องมือประเมินผล เช่น การใช้ IT ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อประเมินประสิทธิผล และประสิทธิภาพของกิจกรรมต่างๆ
1) ติดตามผลลัพธ์จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง โดยการตรวจร่างกาย และบันทึกใน JHCIS

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ประชาชนเห็นความสำคัญของการคัดกรองโรค มีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ และนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหัวใจและหลอดเลือดรายใหม่ในระยะยาวได้เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง 2) ผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ส่งผลให้สามารถชะลอการเกิดภาวะ แทรกซ้อนในระยะยาวได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2564 14:53 น.