กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงด้วยการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุชา ตันปิติกร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 25,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตของคนไทยจำนวนมากในแต่ละปี ปัจจุบันคนไทยมีความดันโลหิตเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาหลักของการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย คือ การที่ผู้ที่เป็นโรคไม่ได้ตระหนักว่าเป็นโรค แม้บางส่วนจะตระหนักก็ยังไม่เชื่อถือและไม่ได้ติดตามรับการรักษาอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ ประเด็นต่างๆ ในด้านคุณภาพของการวินิจฉัย และติดตามในระบบสาธารณสุขก็ยังต้องได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอีกด้วย จึงมีการกำหนดแนวทางการติดตามโดยใช้การวัดความดันโลหิตที่บ้าน (HOME BP) ในช่วงตื่นนอนตอนเช้า และก่อนเข้านอนเป็นระยะเวลา 7 วัน และหาค่าเฉลี่ยเพื่อให้ได้ค่าระดับความดันโลหิตที่แท้จริงขณะพักในการยืนยันการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย พบว่าค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซิสโตลิก (systolic blood pressure, SBP) เพิ่มขึ้น จาก 115.3 มม.ปรอท ในปีพ.ศ. 2535 เพิ่มเป็น 121.8 มม.ปรอทในปีพ.ศ. 2557 โดยในผู้ชาย  มีค่าเฉลี่ยเพิ่มจาก 116.9 มม.ปรอท เป็น 124.4 มม.ปรอท ส่วนในผู้หญิงมีค่าเฉลี่ยเพิ่มจาก 113.7 เป็น 119.4 มม.ปรอท ประชากรในเขตเมืองมีค่า SBP เฉลี่ยเพิ่มจาก 117.2 มม.ปรอท เป็น 120.8 มม.ปรอท ส่วนในชนบทเพิ่มจาก 114.9 มม.ปรอท เป็น 122.6 มม.ปรอท ในขณะที่ความชุกของโรคความดันโลหิตสูง ในประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไปเพิ่มจาก ร้อยละ 17.0 ใน ปี พ.ศ. 2535 มาเป็นร้อยละ 24.7 ในปีพ.ศ. 2557 โดยในผู้ชายความชุกเพิ่มจาก ร้อยละ 18.1 เป็นร้อยละ 25.6 ส่วนในผู้หญิงเพิ่มจากร้อยละ 15.9 เป็นร้อยละ 23.9 ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ปัญหาหลักของการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย คือการที่ผู้ป่วยไม่ได้ตระหนักว่าเป็นโรค และการที่ยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้ลดลงมาตามเกณฑ์ปฏิบัติได้ อย่างไร ก็ตาม พบว่าแนวโน้มของการไม่ตระหนักถึงการเป็นโรคของผู้ป่วยลดลง จากร้อยละ 72.4 ในปี พ.ศ. 2547 เหลือร้อยละ 44.7 ในปีพ.ศ. 2557 ในขณะที่สัดส่วนของ      ผู้ที่ได้รับการรักษาและสามารถ ควบคุมความดันโลหิตได้ ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอทเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.6        ในปีพ.ศ. 2547 มาเป็น ร้อยละ 29.7 ในปีพ.ศ. 2557 ในพื้นที่อำเภอคลองหอยโข่งมีการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงเป็นประจำทุกปีครอบคลุมพื้นที่ทุกตำบล ในแต่ละปีพบผู้ที่สงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 18 - 20 และมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ได้รับการติดตามการวัดความดันโลหิตที่บ้านและการวินิจฉัยโรค เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถกระจายเครื่องวัดความดันโลหิตลงไปในชุมชนได้ครอบคลุมพื้นที่ จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในปีงบประมาณ 2563 ตำบลโคกม่วงมีผู้ที่สงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ณ ปัจจุบัน จำนวน 188 คน คิดเป็นร้อยละ 10.53 ของผู้ที่ได้รับการคัดกรองทั้งหมด ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องได้รับการติดตามการวัดความดันโลหิตที่บ้าน (HOME BP) เป็นระยะเวลา 7 วัน อย่างน้อยร้อยละ 60 ของกลุ่มสงสัยป่วยทั้งหมด ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง จึงจัดทำโครงการติดตามกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงด้วยการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ปี 2564 ขึ้นเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ และการได้รับการวินิจฉัย การรักษา รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามโดยการวัดความดันโลหิตที่บ้าน (HOME BP) ตามแนวทางที่กำหนด

กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ร้อยละ 60

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการติดตามโดยการวัดความดันโลหิตที่บ้านและผลผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์

กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีผลการวัดความดันโลหิตที่บ้านผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อ พบแพทย์ ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการติดตามโดยการวัดความดันโลหิตที่บ้านและผลผิดปกติได้รับการดูแลที่เหมาะสมตามแนวทางที่กำหนด

กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการติดตามการวัดความดันโลหิตที่บ้านได้รับการดูแลตามแนวทาง ร้อยละ 100   - กลุ่มระดับความดันโลหิตตั้งแต่  140/90 มม.ปรอทขึ้นไป
  - กลุ่มระดับความดันโลหิตตั้งแต่  130-139/85-89 มม.ปรอท   - กลุ่มระดับความดันโลหิตน้อยกว่า 130/85 มม.ปรอท

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 25,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 กิจกรรมจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล 200 25,000.00 -

1) ประชุมเจ้าหน้าที่ เพื่อกำหนดแนวทาง/โครงการในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง 2) เสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกม่วง 3) ประชาสัมพันธ์โครงการ 4) ติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง และ จัดทำแนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และแบบบันทึก 5) จัดทำทะเบียนผู้ที่สงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรองในปีงบประมาณ 2564 ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรม 6) จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล 7) ติดตามกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน โดยฝึกทักษะญาติ/ผู้ป่วยให้สามารถ วัดความดันโลหิตได้ และให้วัด  ความดันโลหิตต่อเนื่องครบ 7 วัน พร้อมบันทึกในแบบบันทึก 8) เจ้าหน้าที่หาค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิต หากพบว่า 8.1 กรณีมีระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ให้ส่งพบแพทย์ที่โรงพยาบาล        คลองหอยโข่งฯ หรือ นัดมาพบแพทย์ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วงในวันจัดบริการคลินิกโรคเรื้อรัง เพื่อเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัย และการรักษาต่อไป 8.2 กรณีระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 130-139/85-89 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง ให้ส่งเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยง 8.3 กรณีระดับความดันโลหิตน้อยกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท แนะนำให้เริ่มปรับพฤติกรรมโดยใช้หลัก        3อ 2ส และเข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 9) บันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยบริการ และใน website กระทรวงสาธารณสุข 10) ประเมินผลกิจกรรมต่างๆ โดยใช้ข้อมูลจากระบบรายงาน HDC ของกระทรวงสาธารณสุข 11) สรุปโครงการและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ตำบลโคกม่วงได้รับการติดตาม วินิจฉัย รักษา และการดูแลที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลต่อการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในอนาคตได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2564 15:35 น.