กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ประจำปี 2564
รหัสโครงการ L336325641003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบ้านนา
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุทิน สุขแสง
พี่เลี้ยงโครงการ เทศบาลตำบลบ้านนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อน หรือแม้แต่มีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้ แต่มีปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดก็ย่อมให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภค ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย เป็นสิ่งที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแลเฝ้าระวัง และป้องกัน ให้กับประชาชน เน้นให้ประชาชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย มีคุณค่าอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปัจจุบันปัญหาสำคัญที่พบในอาหารสด มักจะมีสารปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ก่อให้เกิดอัตรายต่อสุขภาพอาจเกิดผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหรืออาจถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนใหญ่ร้านค้าจะเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผู้บริโภค ทำให้ได้รับสารปนเปื้อนเข้าไปสะสมในร่างกาย     เทศบาลตำบลบ้านนา ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร และเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุง-ประกอบอาหารได้ถูกต้อง

ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 70

15.00
2 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและสถานที่จำหน่ายอาหาร

ร้อยละ 50

15.00
3 เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยจากสถานประกอบการที่ได้มาตรฐานแก่เยาวชน

ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60

15.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่อง สุขาภิบาลอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 7,450.00 0 0.00
3 มี.ค. 64 อบรมให้ความรู้ เรื่อง สุขาภิบาลอาหาร 30 7,450.00 -
2 กิจกรรมที่ 2 ตรวจประเมินสถานที่จำหน่ายอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 13,170.00 0 0.00
4 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ตรวจประเมินสถานที่จำหน่ายอาหารตามข้อกำหนดมาตรฐานทางกายภาพสำหรับสถานที่จำหน่ายอาหารที่เข้าร่วมโครงการแลละตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่จำหน่ายอาหารทางแบคทีเรียด้วยชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (Sl2) 15 13,170.00 -
  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้สถานที่จำหน่ายอาหารเข้าร่วมโครงการ
  3. ตรวจประเมินสถานที่จำหน่ายอาหารตามข้อกำหนดมาตรฐานทางกายภาพสำหรับสถานที่จำหน่ายอาหารที่เข้าร่วมโครงการ
  4. ตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่จำหน่ายอาหารทางแบคทีเรีย ด้วยชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (Sl2)
  5. ตรวจแนะนำเพื่อการปรับปรุงสถานที่จำหน่ายอาหารเพื่อดำเนินการให้ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน
  6. รวบรวมและวิเคราะห์ผลการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน
  7. สรุปผลการตรวจประเมินเพื่อให้การรับรอง
  8. มอบผ้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ให้กับสถานที่จำหน่ายอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  9. สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สถานที่จำหน่ายอาหารที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขได้รับรองป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) และได้รับการต่ออายุป้ายโดยเทศบาลตำบลบ้านนา
  2. สถานที่จำหน่ายอาหารมีการดำเนินการได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
  3. ประชาชนได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหารมากยิ่งขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 10:58 น.