กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตำบลนมแม่เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว ประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L5188-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรสา ชูศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.863,100.891place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกระบวนการวางรากฐานพัฒนาการเด็ก ซึ่งพบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงขวบปีแรก จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี ด้านร่างกาย สติปัญญาร่วมกับพัฒนาการอารมณ์ สังคม เด็กจะเห็นคุณค่าตนเอง มีความมั่นใจ และเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาคนแบบองค์รวม เด็กควรได้รับการเลี้ยงดู ได้รับความรัก ความอบอุ่น ได้รับอาหารที่เหมาะสมเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนมแม่อย่างเดียวจนอายุ ๖ เดือนเนื่องจากน้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุด เพราะมีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของทารก มีภูมิคุ้มกันโรคซึ่งไม่มีในอาหารชนิดอื่นและ ที่สำคัญเป็นการสร้างสายใยความรัก ระหว่างแม่ ลูก สร้างความรักความอบอุ่น และพัฒนาสมองของลูกตั้งแต่แรกเกิด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นกระบวนการเรียนรู้ในการปรับตัว ก่อเกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันสายใยรักที่ถ่ายทอดสู่ลูกจะเป็นแรงบันดาลใจให้แม่ไม่ทอดทิ้งลูกเลี้ยงลูกด้วยความรักความอบอุ่นทางใจซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต พัฒนาการสมวัย และเติบโตเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มี สุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อปัญหาสังคมเมื่อเติบโตในอนาคต
ในการนี้เพื่อให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6เดือนบรรลุตามเป้าหมายในปี2560 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้าร่วมกับภาคีเครือข่ายตำบลเกาะสะบ้าจึงจัดทำโครงการ “ตำบลนมแม่เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว” ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน องค์กรชุมชน เกิดความรู้ความเข้าใจ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ให้มีความพร้อมในการพัฒนาและขับเคลื่อนทางสังคม ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการพัฒนาตามกระบวนการคุณภาพ ด้วยการจัดระบบบริการในพื้นที่ตามมาตรฐาน เชื่อมโยงสู่ครัวเรือนและชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง เน้นการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆเพื่อให้เกิดการขยายงานการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็กอย่างครอบคลุม โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขแกนนำหมู่บ้าน ปราชญ์ชุมชนเป็นเครือข่ายหลักในการดำเนินงาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาเครือข่ายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

2 เพื่อขับเคลื่อน ตำบลต้นแบบ “ตำบลนมแม่เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว”

 

3 สร้างเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากสถานบริการสู่ครัวเรือนชุมชน

 

4 เพื่อส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพอนามัยแม่และเด็กของชุมชนโดยชุมชน

 

5 พัฒนาองค์ความรู้และระบบบริการอนามัยแม่และเด็กที่ได้มาตรฐานในพื้นที่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประชาชนและบุคลากรทุกระดับ

 

6 เพื่อส่งเสริม สนับสนุน แม่และครอบครัวตัวอย่างในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และปราชญ์นมแม่เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว

 

7 สร้างและสนับสนุน อสม.เชี่ยวชาญนมแม่ในการปรับทัศนคติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27.00 2 27,525.00
22 ก.ย. 60 กิจกรรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย 0 20.00 20,525.00
22 ก.ย. 60 พัฒนาศักยภาเครื่อข่าย 0 7.00 7,000.00
  1. สำรวจข้อมูลและจัดทำแผนที่เดินดินตำบลนมแม่ ประกอบไปด้วย บ้านหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดที่มีเด็กแรกเกิด- 5 ปี สถานที่สำคัญของชุมชน ขุมทรัพย์ชุมชน จำนวน 1 แผนที่ โดยทีม อสม.
  2. ขับเคลื่อนแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ตำบลตำบลนมแม่(SRM)และแผนปฏิบัติ(SLM)ตำบลเกาะสะบ้าจำนวน 1 แผน โดย ชมรมนมแม่และคณะกรรมการตำบลนมแม่
  3. ทีมดำเนินงานตำบลนมแม่สายใยรักแห่งครอบครัว 3.1 คณะกรรมการตำบลนมแม่ฯ จำนวน 33คน ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ติดตามผลการดำเนินงาน ไตรมาศ ละ1 ครั้งรวม 4 ครั้ง 3.2 ผู้สูงอายุประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โรงเรียน ปู่ ย่า ตา ยาย จำนวน 30 คน เดือนละ 1 ครั้งโดย คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลเกาะสะบ้า 3.3 ทีม อสม.จำนวน108 คน จัดเก็บข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ หลังหญิงคลอด จัดทำทะเบียน ส่งต่อข้อมูล เพื่อการนำไปใช้ ในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เดือนละ 1 ครั้ง โดยคณะกรรมการชมรมนมแม่และทีมจัดเก็บข้อมูลอนามัยแม่และเด็ก 3.4 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง ในชมรมนมแม่ เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว เพื่อสร้างความรู้และความเชื่อมั่นปรับเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อที่ถูกต้องในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด สามี ครอบครัว ปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญนมแม่ ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ โดย ชมรมนมแม่เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว
    1. อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.เชี่ยวชาญนมแม่ จำนวน108 คน จำนวน 1 วัน และสร้างกระแส ประชาสัมพันธ์ “ตำบลนมแม่”ความรู้เรื่อง “นมแม่” รณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในพื้นที่ ทางสื่อสารชุมชน เช่น เสียงตามสาย คู่มือ แผ่นพับ โปสเตอร์ ภาพพลิก ไวนิล หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน ชมรมสร้างสุขภาพ สื่อบุคคล จำนวน 4 ชุมชน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดย อสม.เชี่ยวชาญนมแม่
  4. หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน สนับสนุนการดำเนินงานตามบทบาทแบบบูรณาการ โดย คณะกรรมการตำบลนมแม่ 5.1 สนับสนุนการจัดกิจกรรมผู้นำนักเรียนยุวทูตนมแม่ จำนวน 6 คน ในการออกอากาศเสียงตามสายในโรงเรียน สัปดาห์ละ 1 ครั้งโดยโรงเรียนในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า
    5.2 พัฒนามุมเรียนรู้ มุมพัฒนาการเด็ก มุมส่งเสริมการอ่านในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง
    1. องค์กรชุมชน ขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลนมแม่ 6.1 ขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ตำบลนมแม่ จำนวน 1 ศูนย์ 6.2 ขับเคลื่อนมาตรการทางสังคมตำบลนมแม่
    2. เยี่ยมบ้าน 6 ครั้ง/คน ( แรกเกิด 7วัน,14 วัน,1 เดือน,2 เดือน,4 เดือนและ6 เดือน) ตามเกณฑ์ พร้อมมอบชุดกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อสร้างความรู้และความเชื่อมั่นปรับเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อที่ถูกต้องในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด สามี ปู่ ย่า ตา ยายจำนวน 50 คนโดย ทีมเยี่ยมบ้าน
  5. ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ โดยทีม กำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการตำบลนมแม่ฯ โดยทีมกำกับติดตามและประเมินผลร่วมกับคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่เทศบาลตำบลเกาะสะบ้า
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพิ่มเป็นร้อยละ 60 แม่และครอบครัวมีความเข้มแข็ง และส่งผลให้คุณภาพชีวิตเด็ก 0- 5 ปีดีขึ้น
  2. ชุมชนมีระบบการดูแล เฝ้าระวัง อนามัยแม่และเด็กที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดตำบลนมแม่เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัวต้นแบบ ที่เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 16:36 น.