กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดเกลือ ลดความดัน
รหัสโครงการ 64-L1478-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองยวน
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 10 กันยายน 2564
งบประมาณ 32,180.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธนายุทธ ทองสม
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.597,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวายเรื้อรัง หัวใจล้มเหลวและสมองเสื่อม นอกจากนี้ ระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก เลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke) หลอดเลือดหัวใจตีบตันเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันหรือหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด โรคความดันโลหิตสูงจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วย จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองยวน ตำบลละมอ อายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 1,226 คน พบว่า มีกลุ่มเสี่ยง 55 คน คิดเป็นร้อยละ 4.49กลุ่มสงสัยป่วย 6 คน คิดเป็นร้อยละ 0.49 กลุ่มป่วย 324 คน คิดเป็นร้อยละ 26.43 ผลจากการคัดกรองจะเห็นได้ว่าประชากร มีแนวโน้มในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงมีจำนวนเพิ่มขึ้น และจากการสำรวจยังพบอีกว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง มีทั้งสาเหตุที่ควบคุมได้และสาเหตุที่ควบคุมไม่ได้ สาเหตุที่ควบคุมได้ คือ การที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่สนับสนุนให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น คือ การกินเค็ม (เกลือ/โซเดียม) ซึ่งพบว่า คนไทยบริโภคเกลือเฉลี่ย 10.8 กรัมต่อวัน (โซเดียม 5,000 มิลลิกรัม) ซึ่งสูงกว่าความต้องการที่ร่างกายควรได้รับถึง 1 เท่า คือ ควรบริโภคเกลือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน (โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม) การให้ความรู้อย่างเข้มข้นโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ร่วมกับการซักถามการบริโภคอาหารย้อนหลังและแนะนำการลดบริโภคอาหารเค็ม (โซเดียม) อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงนั้น ส่งผลให้ความดันโลหิตตัวบนลดลงได้ 10 มิลลิเมตรปรอท และตัวล่างลดลงถึง 5 มิลลิเมตรปรอท โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองยวน จึงจัดทำโครงการลดเค็ม ลดความดัน เพื่อสนับสนุนการปรับพฤติกรรมการกิน โดยคาดหวังว่าจะช่วยลดความดันโลหิตในผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงหรือกลุ่มเสี่ยง จนควบคุมความดันโลหิตได้หรือเป็นปกติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมความดันโลหิตในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยง

 

1.00
2 เพื่อควบคุมความดันโลหิตในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 480 32,180.00 0 0.00
5 เม.ย. 64 - อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 2 30 2,550.00 -
5 - 9 เม.ย. 64 ก่อนเข้าร่วมอบรมวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอวและถามประวัติ การดื่มสุรา-สูบบุหรี่แก่ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 120 7,500.00 -
5 - 9 เม.ย. 64 ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการลดเค็ม ลดความดัน 120 480.00 -
5 - 9 เม.ย. 64 ก่อนเข้าร่วมอบรมวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอวและถามประวัติ การดื่มสุรา-สูบบุหรี่แก่ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 120 คน 120 14,000.00 -
7 เม.ย. 64 - อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 30 2,550.00 -
8 เม.ย. 64 -อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 5 30 2,550.00 -
9 เม.ย. 64 - อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 7 30 2,550.00 -

2.1 ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการลดเค็ม ลดความดัน ก่อนเริ่มโครงการวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอวและถามประวัติ การดื่มสุรา-สูบบุหรี่
2.2 นัดผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง จำนวน 120 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆละ 30 คน ไปพบกันที่ รพ.สต.เพื่อให้ความรู้แบบเข้มข้นเพื่อลดการบริโภคโซเดียม มีเนื้อหาดังนี้


• โซเดียมและความเค็มคืออะไร • โซเดียมส่งผลต่อร่างกายอย่างไร • คนไทยได้รับโซเดียมจากทางใดได้บ้างและมากน้อยเพียงใด • อาหารประเภทใดที่ควรและไม่ควรบริโภค • การปฏิบัติตัวเพื่อลดการบริโภคโซเดียม หลังเสร็จสิ้นการอบรมจะเปิดโอกาสให้ซักถาม และประเมินความรู้ที่ได้รับ โดยการพูดคุยถึงอาหารที่กลุ่มเป้าหมายรับประทานจริงในชีวิตประจำวัน ว่ามีปริมาณโซเดียมมากน้อยเพียงใด จากนั้นจึงให้คำแนะนำในการลดบริโภคโซเดียม เป็นข้อ ๆ ดังนี้ • ควรสังเกตฉลากโภชนาการอาหารก่อนบริโภค • ลดการใช้เครื่องปรุงรส ให้ชิมก่อนปรุง • ใช้เครื่องปรุงรสอื่นๆ ได้แก่ พืชสมุนไพร (ขิง ข่า ตะไคร้) แทน • ลดการบริโภคอาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูปและขนมขบเคี้ยว 2.3 ทีมอสม.เป็นพี่เลี้ยงในการติดตาม ชั่งน้ำหนัก วัดความดันรายวัน เพื่อประเมินผลการลดโซเดียมในอาหารและเครื่องดื่มรายวัน อย่างน้อย 7 วันติดต่อกัน 2.4 นัดกลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ที่รพ.สต.ทุก 2 สัปดาห์ จำนวน 4 ครั้ง พร้อมแนะนำการบริโภคอาหารในทุกๆครั้ง 2.5 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแบบรายงานหรือบัญชีรายชื่อผู้ที่เข้าร่วมโครงการ และผลการลดเค็ม (ตามภาคผนวก)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ร้อยละของกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถลดความดันโลหิตได้มากกว่า 4 mmHg. และ ค่าเฉลี่ยของความดันฯ กลุ่มผู้ป่วยทุกคน ก่อน และ หลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโซเดียม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 14:41 น.