กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 2 ตำบลมะกรูด
รหัสโครงการ 64 - L2985 – 02 - 10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมูที่ 2
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,360.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภารัตน์ มูซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.738,101.119place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2564 30 ธ.ค. 2565 13,360.00
รวมงบประมาณ 13,360.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตคือ การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ทำให้ไม่มีการตื่นตัวในการร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้ อาจเนื่องจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือน ดังนั้น การสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก จะช่วยทำให้การควบคุมและป้องกันโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    ในปีงบประมาณ 2563 ตำบลมะกรูด เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกจำนวนมาก และเป็นมาอย่างต่อเนื่อง จากการสอบสวนโรค ของ PCU มะกรูด พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 67 ราย ส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม – กันยายน ของทุกปี สาเหตุเกิดจากการขาดความตระหนักของประชาชน มีน้ำขังในภาชนะ มีขยะบริเวณรอบบ้าน การเลี้ยงนกและไก่ ส่งผลทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย
    ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตรียมพร้อมในการป้องกันโรคในพื้นที่ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เกิดความตระหนัก สำหรับการเฝ้าระวัง และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อให้ได้ผลอย่างรวดเร็วนั้น ต้องตัดวงจรการติดต่อของโรคอย่างทันท่วงที จึงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน มีมาตรฐาน การเตรียมพร้อมสำหรับวัสดุทางการแพทย์ เคมีภัณฑ์ ต่างๆ ให้ทันท่วงทีและเพียงพอกับการใช้งานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ กลุ่ม อสม. หมู่ที่ 2 ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 1 ตำบลมะกรูด ขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและควบคุมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราการป่วยโรคไข้เลือดออก  ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

50.00
2 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้รับการควบคุม ร้อยละ 100

100.00
3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ค่า HI น้อยกว่า 10 , ค่า CI เป็น 0

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 5 13,360.00 3 13,360.00
1 ก.พ. 64 - 30 ธ.ค. 65 กิจกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 0 6,000.00 6,000.00
1 ก.พ. 64 - 30 ธ.ค. 65 กิจกรรมเฝ้าระวัง และควบคุมการระบาดควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 6,860.00 6,860.00
1 ก.พ. 64 - 30 ธ.ค. 65 กิจกรรมสุ่มประเมินลูกน้ำยุงลาย ( 2 เดือน/ 1 ครั้ง) 5 500.00 500.00
  1. เสนอโครงการฯ เพื่อขออนุมัติดำเนินการ
          2. ดำเนินการตามโครงการ
            2.1 จัดหาวัสดุการแพทย์ เคมีภัณฑ์เพื่อใช้ในการเฝ้าระวัง และควบคุมโรคไข้เลือดออก
            2.2 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคติดต่อ เช่น แผ่นพับ ป้ายไวนิล ป้ายรณรงค์
          3. ดำเนินการตามกิจกรรมป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน กรณีเกิดการระบาดของโรค
            3.1 กิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลาย และให้ความรู้ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์         3.2 กิจกรรมควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออก โดยการพ่นหมอกควัน       4. สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีวัสดุทางการแพทย์ เคมีภัณฑ์ เพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคภายในชุมชนอย่างเพียงพอ
  2. มีสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเพียงพอและครอบคลุมในชุมชน ทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อ ต่าง ๆ มากขึ้น สามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคได้ถูกวิธีและถูกต้องมากยิ่งขึ้น
  3. ลดการระบาดของโรคไม่ให้ขยายไปในวงกว้าง
  4. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  5. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 15:15 น.