กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมผู้สูงวัยใส่ใจรักสุขภาพ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมผู้สูงวัยใส่ใจรักสุขภาพ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ใน ปี ๒๕๖๗ เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบอย่าง กว้างขวาง โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยที่ยังมิได้คำนึงถึงเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูซึ่งสูงขึ้นตามอายุ ซึ่งขณะที่อัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น อาจจะ นำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยบั้น ปลายของชีวิต เป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน เพราะมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงมีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย ปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อยๆในผู้สูงอายุได้แก่ เกิดภาวะ กระดูกหักง่าย สายตาไม่ดี หูตึง ฟันไม่ดี เป็นลมบ่อย เรอบ่อย ท้องผูก เบาหวาน หลงลืมบ่อย หัวใจและหลอด เลือด และปัญหาทางอารมณ์ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่พึ่งพาตนเองได้น้อยลง มีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตามระยะของการ พัฒนาการ ซึ่งมีภาวะร่างการที่เสื่อมถอยลง มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม สาเหตุเนื่องจากผู้สูงอายุและครอบครัวให้ความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพน้อยลง เช่น เรื่องการบริโภคอาหาร การขาดการออกกำลังกาย การไม่ได้อยู่ร่วมกันในครอบครัว ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาต่างๆเหล่านี้ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมผู้สูงวัยใส่ใจรักสุขภาพ ดำเนินการในชมรมผู้สูงอายุในรูปของการตรวจสุขภาพ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ และปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีความรู้ ความเข้าใจในการดุแลสุขภาพของตนเองได้อย่างดีและเหมาะสม เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินชีวิตที่แข็งแรง สุขภาพดี ตลอดจนให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน ส่งเสริม ฟื้นฟู และรักษาสุขภาพให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม  ให้แก่สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ  นอกจากนี้ยังเป็นการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการชมรมผู้สูงอายุซึ่งมีอยู่เดิมด้วย จากข้อมูลโปรแกรม JHCIS  จำนวนผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ๓  หมู่บ้าน มีจำนวนผู้สูงอายุเป็นชาย ๑๒๕ คน หญิง ๑๔๙ คน รวม ๒๗๔ คน (ข้อมูลจาก JHCIS เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ) เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ หญิง ๘๒ คน ชาย ๓๘ คน รวม ๑๒๐ คน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้และสามารถดูแลด้านสุขภาพของตนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุได้รับความรู้และสามารถดูแลด้านสุขภาพของตนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

0.00
2 ๒. เพื่อให้ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่

ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุ  ได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่

0.00
3 ๓. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และทำกิจกรรมร่วมกัน

ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และทำกิจกรรมร่วมกัน

0.00
4 ๔. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ และมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 80 ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ  และมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

0.00
5 ๕. เพื่อกระตุ้นบุตรหลาน สังคมมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ

ร้อยละ 80 กระตุ้นบุตรหลาน สังคมมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้และสามารถดูแลด้านสุขภาพของตนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ๒. เพื่อให้ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ๓. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และทำกิจกรรมร่วมกัน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : ๔. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ และมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 : ๕. เพื่อกระตุ้นบุตรหลาน สังคมมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

26 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 ๑. จัดทำทะเบียนผู้สูงอายุและรับสมัครผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ 80.00 0.00 -
26 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 ๒. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ตัวแทนผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบหมู่ ๒,๓,๔ ต.ท่าเรือ อ.ท่าแพ 80.00 12,450.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑. เสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตพื้นที่ตำบลท่าเรือ เพื่อขออนุมัติ ๒. ประชุมเจ้าหน้าที่ เพื่อชี้แจงกิจกรรมและเขียนโครงการ ๓. เชิญอาสาสมัครสาธารณสุขเข้ารับการประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินงาน และกำหนดรูปแบบกิจกรรม ๕. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ๖. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ กิจกรรมในโครงการประกอบด้วย
๑ ให้ความรู้แพทย์แผนไทย และการดูแลสุขภาพโดยแพทย์ทางเลือก ๒ สาธิตการใช้ยาสมุนไพรในการรักษา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้ ๒. ผู้สูงอายุเข้าใจสถานภาพของตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและมีสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้สูงอายุ ด้วยกันในชุมชน ๓. ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังโรคและได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัว ๔. ชุมชนและสังคมให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น   ๕. ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง   ๖  ผู้สูงอายุมีขวัญและกำลังใจในการดำรงชีวิตดีขึ้น   ๗  ผู้สูงอายุสามารถปลูกและนำพืชสมุนไพรในท้องถิ่นมาดูแลสุขภาพของตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2564 13:45 น.