กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด ประจำปีงบประมาณ 2564

พ่นหมอกควัน1 มกราคม 2021
1
มกราคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลท่าเรือ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

๑. จัดทำประชาคมสุขภาพในพื้นที่ตำบลท่าเรือ เพื่อหามาตรการการดำเนินงานการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด
๒. ประชุม อสม.และทีม SRRT เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ๓. เขียนโครงการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมากองทุนหลักประกันสุขภาพเขตพื้นที่ตำบลท่าเรือ เพื่อพิจารณาขออนุมัติงบประมาณ ๔. ดำเนินกิจกรรมในโครงการ ดังนี้ ๔.1 กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด ในชุมชนทุกครัวเรือน มัสยิด สำนักสงฆ์ โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปีละ ๑ ครั้ง ในพื้นที่ตำบลท่าเรือ พร้อมแจกทรายอะเบท ๔.2 กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและยุงทั่วไปในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร่วมกับครูและนักเรียนพร้อมแจกทรายอะเบทแก่โรงเรียน เพื่อใช้ในโรงเรียน และมอบให้นักเรียนนำกลับไปใช้ที่บ้าน ๔.3 พ่นหมอกควันในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 ครั้ง ต่อปี (ช่วงเดือน เมษายน ๒๕๖3 และตุลาคม ๒๕๖3) ๔.4 พ่นหมอกควันในกรณีที่มีผู้ป่วย โดยพ่นหมอกควันในบ้านผู้ป่วยและรอบบริเวณบ้านผู้ป่วยในรัศมี ๑๐๐ - ๑๕๐ เมตร จำนวน ๒ - ๓ ครั้งในช่วงระหว่างวันที่ ๑ - ๗ โดยทีม SRRT ตำบลท่าเรือ ๔.5 ในกรณีที่มีผู้ป่วย ให้มีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด ในบริเวณบ้านผู้ป่วยและและรอบบริเวณบ้านผู้ป่วยในรัศมี ๑๐๐ - ๑๕๐ เมตร โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๔.6 ควบคุมและป้องกันโรคโดยการใช้สเปรย์และโลชั่น ในผู้ป่วยที่เกิดโรคแต่มีภาวะเสี่ยงอาจเกิดอันตรายจากการพ่นหมอกควัน ภายในครัวเรือน เช่น ภายในครัวเรือนที่มีผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ ผู้ป่วยติดเตียง อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

๑. โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศาสนสถาน และครัวเรือนในพื้นที่ตำบลท่าเรือ ได้รับการควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด ๒. การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดได้ ๓. ประชาชนมีความรู้ ในเรื่องการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดและตระหนักถึงอันตรายของโรค ๔. ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด