กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน
รหัสโครงการ 64-L8281-3-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สุงอายุบ้านลีนานนท์จุฬาภรณ์
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 23,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเวียง รักษ์บรรจง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.973827,101.67131place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 23,920.00
รวมงบประมาณ 23,920.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มผู้สูงอายุมีขาดความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลตนเองได้
70.00
2 กลุ่มผู้สูงอายุไม่ได้รับการประเมินความสามารถในการดำเนิชีวิตประจำวัน ตามดัชนีบาร์เธลเอดีเอ
70.00
3 กลุ่มผู้สูงอายุไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ ประจำเดือน
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุดและปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพอื่นๆ ได้แก่ การออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ รวมทั้งในผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความเศร้าใจ กังวลใจ น้อยใจ เสียใจ อันเกิดจากการอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้สูงอายุ บุตรหลานมักปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยว ขาดการยอมรับและความเชื่อถือด้านการพัฒนาสังคม จากสภาพปัญหาดังกล่าว ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายหรือสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก อีกทั้งเป็นการเพิ่มภาระการดูแลสุขภาพแก่ครอบครัว ชุมชน รวมทั้งภาครัฐเองต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของประชากรกลุ่มวัยนี้เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ได้มีความรู้เบื้องต้นในการดูแลตนเองได้

ร้อยละ 80 กลุ่มผู้สูงอายุมีองค์ความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลตนเองได้

70.00 75.00
2 ผู้สูงอายุทุกคนได้รับการประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามดัชนีบาร์เธลเอดีเอล

ร้อยละ 80 ได้รับการประเมินความสามารถในการดำเนิชีวิตประจำวัน ตามดัชนีบาร์เธลเอดีเอล

70.00 75.00
3 ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพตาม

ร้อยละ 80 กลุ่มผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพ ประจำเดือน

70.00 75.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,920.00 4 23,920.00
24 มี.ค. 64 ประชุมเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในผู้สูงอายุ 0 17,770.00 17,770.00
20 เม.ย. 64 ประชุมให้ความรู้การประเมินเอดีแอลโดยตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตรวจสุขภาพ ครั้งที่ ๑ 0 2,050.00 2,050.00
18 พ.ค. 64 ประชุมให้ความรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพในผู้สูงอายุและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตรวจสุขภาพ ครั้งที่ ๒ 0 2,050.00 2,050.00
22 มิ.ย. 64 ประชุมให้ความรู้การออกกำลังกายในผู้สูงอายุและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตรวจสุขภาพ ครั้งที่ ๓ 0 2,050.00 2,050.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีเอล ๒. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้และมีส่วนร่วมในชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุ ลดภาวการณ์เกิดซึมเศร้า ติดบ้าน ติดเตียง ๓. ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มดูแลสุขภาพตนเอง และครอบครัว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2564 09:20 น.