กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการเพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะโภชนาการบกพร่อง
รหัสโครงการ 64L3321-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 13 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 32,921.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจุฬา รักใหม่
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
พื้นที่ดำเนินการ 1ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 2 พื้นที่ ม.1 -13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 31 ส.ค. 2564 32,921.00
รวมงบประมาณ 32,921.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
4.17
2 ร้อยละของเด็ก 0-6 เดือนที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
51.43
3 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม
8.93

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายกระทรวงสาธารณสุขและจุดเน้นประเด็น smart kids ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในกลุ่มปฐมวัย 0-5 ปี เด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียนปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็ก เช่น สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูโดยการสร้างเสริมกิจกรรมกับเด็กผ่านการเล่น เป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่สำคัญ รวมถึงการติดตามพัฒนาการด้านการเจริญ เติบโตทางด้านร่างกาย เช่น รูปร่าง น้ำหนัก ส่วนสูง ของเด็กให้เหมาะสมตามวัย และที่สำคัญควรพาเด็กไปรับบริการตรวจสุขภาพ และรับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามดูการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีความสุขและมีคุณภาพ การประเมินผลการเฝ้าระวังทาง ภาวะโภชนาการเด็กอายุแรกเกิด – 72 เดือนที่อยู่ในหมู่บ้าน พบว่าในพื้นที่เขตรับผิดชอบรพ.สต.ปันแตในไตรมาสที่ 1/๒๕๖4 มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 23 คน จากเด็กทั้งหมด 315 คนคิดเป็นร้อยละ 7.30 ซึ่งตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 7 และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการที่เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่า ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา ของเด็กและหากปัญหาเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลต่อประเทศชาติ ทำให้ประเทศชาติไม่มีการพัฒนา เพราะเด็กเป็นอนาคตของชาติที่สำคัญ ถ้ามีการแก้ไขปัญหาที่ดีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ก็จะหมดไปสำหรับผู้ปกครองเด็กอายุแรกเกิด – 72 เดือน ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ปันแต ส่วนใหญ่ ไม่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเจริญเติบโต ทางด้านร่างกาย และพัฒนาการด้านต่างๆ ปล่อยให้พัฒนาการของเด็ก เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นไปตามพันธุกรรมที่ได้รับจาก พ่อแม่ เท่านั้น ขาดการกระตุ้น และการส่งเสริมที่ถูกต้องตามหลักการเลี้ยงดูเด็ก รพ.สต.ปันแต ได้ดำเนินกิจกรรม ในการดูแลเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ในด้านต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่ การฝากครรภ์ การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การติดตามการเจริญเติบโตด้านร่างกาย การดูแลด้านสุขภาพช่องปาก การบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริม พัฒนาการของเด็ก เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายในการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กวัยแรกเกิด - 72 เดือน ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้ให้ความสำคัญ และจัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด -72 เดือน มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและการประเมินพัฒนาการเด็กตามวัย

ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด -72 เดือน ได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและการประเมินพัฒนาการเด็กตามวัย

80.00
2 เพื่อให้เด็กแรกเกิด -72 เดือนได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาสมวัยตามวัย

เด็ก 0-72 เดือน  มีพัฒนาการสมวัยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรม ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเรื่องโภชนาการและพัฒนาการเด็กที่มีภาวะโภชนาการอ้วน เตี้ย ผอม 48 2,174.00 2,174.00
1 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมติดตามชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงแปรผลภาวะโภชนาการและประเมินพฤติกรรมการบริโภคของเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 23 47.00 -
1 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 การให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาการเลี้ยงบุตรเป็นรายบุคคล 0 30,700.00 -
10 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 การให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาการเลี้ยงบุตรเป็นรายบุคคล 23 30,700.00 -
รวม 94 63,621.00 1 2,174.00

1วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของภาวะสุขภาพของเด็กแรกเกิด -72 เดือน 2 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานประชุมเพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานร่วมกันในระดับ รพสต.
3 จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ต.ปันแต 4 ประชุมชี้แจง อสม. และแกนนำหมู่บ้านเพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการ.ติดตามชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงแปลผลภาวะการเจริญเติบโต 5 .จัดกิจกรรมให้ความรู้/ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเด็กและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครอง 6 .กิจกรรมติดตามภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด - 72 เดือน ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 7 กิจกรรมการสนับสนุนอาหารเสริมสำหรับเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 8 ประเมินผลการดำเนินงาน 9 สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. .ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – 72 เดือน สามารถเลี้ยงดูเด็กให้มีคุณภาพ 2.เด็กแรกเกิด – 72 เดือน มีพัฒนาการสมวัย และมีรูปร่างสมส่วน 10.3 เด็กแรกเกิด – 72 เดือน ที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มีภาวะโภชนาการดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2564 14:57 น.