กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น รพ.สต.บ้านทุ่ง ต.ฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔
รหัสโครงการ 64-L8409-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 17,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาของการพัฒนาประเทศไทย การดำเนินชีวิตของคนในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งการดำเนินชีวิตประจำวัน สภาพการแข่งขันและสภาวะบีบคั้นทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม จารีตและประเพณีที่ปรับเปลี่ยนไป สภาวะความทันสมัย ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี การติดต่อสื่อสารที่ครอบงำทุกคนให้เน้นวัตถุนิยม พ่อแม่หลายคนละทิ้งบุตรหลานไว้กับคนแก่เพื่อไปทำงาน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป การเรียนรู้ของวัยรุ่นในยุคปัจจุบันจึงเป็นเพียงการลอกเลียนแบบพฤติกรรมผ่านเทคโนโลยีสื่อสารรูปแบบต่างๆ เช่น เฟสบุ๊ค โดยขาดการวิเคราะห์ พิจารณา ที่เท่าทันและเหมาะสม ซึ่งส่วนหนึ่งผู้ดูแลที่เป็นคนเฒ่าคนแก่ก็ไม่เท่าทันต่อความสมัยใหม่ เพราะเติบโตในวัฒนธรรมการสอนที่แตกต่างกัน ส่งผลให้พฤติกรรมทางเพศในกลุ่มวัยรุ่นวัยเรียน จำนวนมากยังไม่มีความรู้ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเพศ (gender) ที่เหมาะสมและขาดทักษะการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง โดยวัยรุ่นไม่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง การขาดความเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิดที่ถูกวิธีและปลอดภัย ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตนเองเมื่อต้องอยู่กับเพศตรงข้ามตามลำพัง ส่งผลให้มีเพศสัมพันธ์ไม่พร้อมและขาดการป้องกัน เด็กผู้หญิงหลายคนถูกล่อลวงไปข่มขืนและอนาจารทางเพศ เงื่อนไขดังกล่าวนำไปสู่การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในกลุ่มวัยรุ่นวัยเรียนนับเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงและส่งผลต่อสังคมไทยมากขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลสถิติของ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2555 พบว่าอัตราการตั้งครรภ์ในแม่ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี มีมากถึง 133,027 คน คิดเป็นร้อยละ 16.59 ที่สำคัญอายุต่ำกว่า 15 ปี มีจำนวน 3,707 คน หรือร้อยละ 0.46 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่จะต้องไม่เกินร้อยละ10 ที่สำคัญยังส่งผลกระทบต่อปัญหาอัตราทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม (2.5 กิโลกรัม)ที่พบมากถึงร้อยละ 8.7 ซึ่งมากกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้จะต้องไม่เกินร้อยละ 7
      ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น เพื่อให้วัยรุ่นมีความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษา และสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมได้เหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้กลุ่มวัยรุ่นมีทักษะชีวิต ทักษะในการป้องกันตัวเอง ทักษะการคิด การวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ๒. แกนนำชุมชน อสม. กลุ่มวัยรุ่นและผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอนามัยเจริญพันธ์ เพศศึกษา การคุมกำเนิดที่เหมาะสม การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ๓. ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในกลุ่มวัยรุ่นตำบลฉลุง เขตรพ.สต.บ้านทุ่ง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. แกนนำชุมชน อสม. กลุ่มวัยรุ่นและผู้ปกครอง เข้าใจสถานการณ์ปัญหา และให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ร้อยละ 70 2. แกนนำชุมชน อสม. กลุ่มวัยรุ่นและผู้ปกครอง  มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอนามัยเจริญพันธ์ เพศศึกษา การคุมกำเนิดที่เหมาะสม  การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ร้อยละ 80 3. แกนนำชุมชน อสม. กลุ่มวัยรุ่นและผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา แหล่งเสี่ยง และเสนอแนะแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เกินร้อยละ ๑๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 แต่งตั้งคณะทำงาน เจ้าหน้าที่ รพ.สต./ อบต./อสม. /ผู้นำชุมชน/คุณครูอนามัยโรงเรียน     1.2 ประชุมคณะทำงาน(อสม./ผู้นำชุมชน/คุณครูอนามัยโรงเรียน)เพื่อวางแผนการทำงาน     1.3 จัดอบรม ให้ความรู้แก่แกนนำชุมชน อสม. กลุ่มวัยรุ่นและผู้ปกครองเรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น       1.3.1 สถานการณ์และปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น       1.3.2 ปัญหาและผลกระทบต่อพ่อแม่ลูก ครอบครัว และสังคม เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อม       1.๓.3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างผู้ปกครอง อสม. และเด็กวัยรุ่น เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่       พร้อมในวัยรุ่น
    1.3.4 การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น หมายเหตุ จัดกิจกรรม 1 ครั้ง (ที่ห้องประชุมรพ.สต.บ้านทุ่ง) 2.ขั้นดำเนินการ     2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ในชุมชน โดยอสม. 2.2 แต่งตั้งคณะทำงานและประชุมเพื่อประสานการทำงาน 2.3 ติดต่อประสานงานกับโรงเรียน 2 โรงเรียนบ้านทุ่ง/กุบังจามัง 2.4 จัดกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร กลุ่มวัยรุ่นมีทักษะชีวิต เข้าถึงเครื่องมือในการป้องกันตัวเอง ป้องกันท้องไม่พร้อมให้ปลอดภัยในเรื่องเพศผู้ปกครองเข้าใจสถานการณ์ปัญหา และให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาวัยรุ่นท้องไม่พร้อมในพื้นที่ มีเครือข่ายการทำงาน เรื่องอนามัยเจริญพันธ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันท้องไม่พร้อมในระดับแกนนำในชุมชน วัยรุ่น ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา แหล่งเสี่ยง และเสนอแนะแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาท้องไม่พร้อมอย่างมีส่วนร่วม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2564 08:56 น.