กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก รพ.สต.บ้านทุ่งต.ฉลุงประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L8409-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 26,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพเริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์มารดาต้องมีความพร้อมและมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ อย่างไรก็ตามแม้จะดูแลได้ด้วยตนเอง ภาครัฐก็ควรส่งเสริมสนับสนุน ให้ประชาชน รู้จักการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการรักษา โดยเฉพาะการตรวจการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี ทั้งของมารดาและบุตร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรณรงค์ ส่งเสริม การตรวจและการดูแลสุขภาพ ขณะตั้งครรภ์เพื่อให้มีการคลอดที่ปลอดภัยทั้งมารดาและบุตร       ในปัจจุบัน ในเขตพื้นที่ตำบลฉลุง ยังมีประชาชนที่มีอคติและยังไม่มีความเข้าใจในผลดี ของการฝากครรภ์เร็ว ภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์ การส่งเสริมความรู้เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
  จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยโดยในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ ๓ ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง ต.ฉลุง อเมือง จ.สตูล จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กประจำปีงบประมาณ 256๔ มาเพื่อแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมาย และได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กประจำปีงบประมาณ 256๔

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ ลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ ข้อที่ 2. เพื่อสร้างกระแสและรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพแม่และเด็กแก่ชุมชน ข้อที่ 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ   - หญิงตั้งครรภ์ มีภาวะโลหิตจาง น้อยกว่า ๓๓ %   - หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์  มากกว่าร้อยละ ๘๐

  -หญิงตั้งครรภ์ มีความเข้าใจในอนามัยแม่และเด็ก ร้อยละ ๑๐๐

  - ไม่มีภาวะเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนหลัง คลอด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)     1.ระยะก่อนดำเนินการ           1.1 ประชุมและคัดเลือกแกนนำอาสาสมัครในการดูแลหญิงตั้งครรภ์           1.2 เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ           1.3 ประสานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ     2.  ระยะดำเนินการ     2.1 กิจกรรมค้นหาหญิงตั้งครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ไวก่อน 12 สัปดาห์ มีวิธีดำเนินการดังนี้ - สร้างความเข้าใจผลดีการฝากครรภ์เร็วผ่านเสียงตามสายของชุมชนและป้ายประชาสัมพันธ์
- อาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการออกสำรวจทุกเดือน ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ (พร้อมตรวจการตรวจตั้งครรภ์ด้วยแผ่นทดสอบปัสสาวะ) เพื่อจัดทำทะเบียน ประเมินอายุครรภ์ ให้คำแนะนำและทำใบส่งตัวเพื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรกที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งโดยเร็วที่สุด - จัดทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์รายเก่าหรือรายที่เจ้าหน้าที่ไม่เคยทราบมาก่อน เพื่อการเฝ้าระวังและติดตาม
    2.2 จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ หญิงแต่งงานใหม่ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด เพื่อให้ความรู้ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
          2.3 การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง           - เจ้าหน้าที่ร่วมกับอสม.ทบทวนทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนการออกเยี่ยม - แจ้งหญิงตั้งครรภ์ถึงวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน ขออนุญาตดูรายละเอียดการฝากครรภ์จากสมุดบันทึกสุขภาพสีชมพู และหากจำเป็นขออนุญาตหญิงตั้งครรภ์ประสานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
- การเยี่ยมดูแล การเฝ้าระวัง ติดตาม มีแนวปฏิบัติดังนี้ - กรณีหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป ที่มีความเสี่ยงต่ำ: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง และออกเยี่ยม 1 ครั้งก่อนไปฝากครรภ์ครั้งต่อไป โดยการซักถามอาการ การตรวจร่างกาย เช่น ตรวจครรภ์ วัดความดันโลหิต แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา (ธาตุเหล็ก ไอโอดีนและโฟลิก) การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง -กรณีหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงสูง: อาสาสมัครสาธารณสุขติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง และขออนุญาตประสานข้อมูลกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง สอบถามอาการ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่ กรณีหญิงตั้งครรภ์มีความดันโลหิตเพิ่มมากกว่าปกติหรือสูง ทำการเฝ้าระวังและติดตามทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้งหรือมากกว่า เพื่อชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ ทั้งนี้อาจให้หญิงตั้งครรภ์และญาติดำเนินการเองโดยให้ยืมเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิต พร้อมบันทึกผล  ติดต่อปรึกษาหารือกับเจ้าหน้าที่ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อการดูแลและส่งต่อที่เหมาะสม
- กรณีหญิงหลังคลอด : ออกเยี่ยมอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อตรวจดูแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา ตรวจดูเต้านม แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับประทานอาหาร การกินยา
2.4 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลฉลุง     3. ระยะหลังดำเนินงาน         3.1 ประเมินผลการดำเนินโครงการ         3.2 สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้รูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนที่ครอบคลุมทุกกลุ่มประเภทและทุกกลุ่มอายุ 2. มีการขับเคลื่อนกิจกรรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการอบรมทุกปี เป็นผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์และให้คำแนะนำ ให้ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ อย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2564 09:04 น.